วิธีติดตั้ง Schema Markup ด้วย Google Tag Manager

By Suppanat Thaiyanant I Google Analytics 4 Specialist

17 OCTOBER 24

245

ทำความรู้จัก Schema Markup  ตัวช่วยให้ติด SEO ดีขึ้น.webp

ปัจจุบัน Developer ต้องทำการเพิ่ม Schema Markup จากหลังบ้านของตัวเอง หรือ Source Code ซึ่งบางทีการที่นักการตลาดหรือ SEO Specialist อย่างเราๆ อยากเพิ่ม Schema Markup ด้วยตัวเอง จึงจำเป็นต้องไปประสานงานทางทีม Product เพื่อเช็คคิว Sprint ว่าสามารถช่วยดำเนินการเพิ่ม Schema Markup ตาม ที่พวกเราต้องการได้หรือไม่

แต่ไม่ต้องห่วงอีกต่อไป เพราะเรามีเครื่องมืออย่าง Google Tag Manager ที่จะเข้ามาช่วยให้นักการตลาดสาย Low-Code ก็สามารถติดตั้ง Schema Markup ได้เอง โดยที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งพา Developers ช่วยลดขั้นตอนการทำงานและเพิ่มความคล่องตัวในการปรับปรุง SEO ได้ทันท่วงทีมากขึ้น 

Schema Markup คืออะไร

Schema Markup คือโค้ดชุดนึงที่อยู่ในรูปแบบของ JSON-LD format ซึ่งจะมีหน้าที่หลักๆในการป้อนข้อมูลให้ Google Bot สามารถเข้าใจเนื้อหาสำคัญๆของเว็บไซต์เราได้ดียิ่งขึ้น แม่นยำมากยิ่งขึ้น เช่น เราอยากให้ Google รู้ว่า ผู้เขียนบทความนี้ ชื่ออะไร การติด Article Schema ก็จะเป็นการส่งสัญญาณลับๆให้ Google ทราบในทางเทคนิคว่าชื่อของผู้แต่งบทความคืออะไร จากประสบการณ์ของ ANGA เว็บไซต์ที่มีการติด Schema Markup มักจะแสดงผลใน SERP สูงกว่าเว็บไซต์อื่นๆ เนื่องจากข้อมูลที่เราส่งให้ Google มีครบถ้วนยิ่งกว่า

วิธีการเพิ่ม Schema Markup ผ่าน Google Tag Manager

พวกเรา ANGA Mastery มีเทคนิคลับที่อยากจะมาแชร์เกี่ยวกับการเพิ่ม Schema Markup เองในปี 2024 ผ่าน Google Tag Mangaer

1. ใช้ ChatGPT ในการทำ Schema Generator

สมมุติว่าเราอยากจะติด Article Schema ในหน้าบทความของเราทุกหน้า เพื่อเป็นการบอก Google ว่า หน้าประเภทนี้เป็นประเภทบทความ เราจำเป็นต้องมี Schema Markup ใน JSON-LD Format ดังนั้น เราจะใช้ ChatGPT ในการ generate schema markup ออกมาให้ 

วิธีการเพิ่ม Schema Markup ผ่าน Google Tag Manager

 

2. สร้าง Tag ใน Google Tag Manager

เราจะใช้ Tag Configuration type เป็น Custom HTML ในช่อง HTML ให้นำ script ที่ได้มาจาก ChatGPT มาวางลง และสุดท้ายอย่าลืมตั้งชื่อ Tag ว่า Article Schema

วิธีการเพิ่ม Schema Markup ผ่าน Google Tag Manager

2. สร้าง Trigger ใน Google Tag Manager

เราจะเลือก Triggering เป็น Page View เฉพาะหน้าที่ contains  https://angamastery.co.th/blog/ เท่านั้น (เพราะเราต้องการบอก Google ว่าหน้าประเภทนี้คือ บทความ)

วิธีการเพิ่ม Schema Markup ผ่าน Google Tag Manager

 

2. สร้าง Variable ใน Google Tag Manager

หากเราอยากต้องการให้ Google รับรู้ได้แบบ dynamic ว่า ในแต่ละหน้ามี Title, Description, หรือเนื้อหาอื่นๆเป็นอย่างไรเราจำเป็นต้องสร้าง Variable หรือตัวแปรที่มีค่าของเนื้อหานั้นๆอยู่ 

ยกตัวอย่างการสร้าง Page Title Variable จะมีขั้นตอนดังนี้

  • Inspect Website ดูว่า Page Title ของคุณว่ามี attribution name กับ content คืออะไร

วิธีการเพิ่ม Schema Markup ผ่าน Google Tag Manager

  • สร้าง Variable โดยใส่ข้อมูลตามนี้
    • ตั้งชื่อตัวแปรว่า Page_Title 
    • เลือก Variable Type เป็น DOM READY
    • เลือก Selection Method เป็น CSS Selector 
    • ในช่อง Element Selector ใส่ สิ่งที่คุณ Inspect เจอ เช่น meta[name="twitter:title"]
    • ในช่อง Attribution Name ใส่ content เพื่อให้ถูกนำไปแสดงผลใน Article Schema Tag

วิธีการเพิ่ม Schema Markup ผ่าน Google Tag Manager

  • กลับไปที่ Article Schema Tag และแก้ไขรายละเอียดใน Script โดยตรงในส่วนของ headline แก้ไขเป็น "{{Page_Title}}" เพื่อเป็นการเรียกตัวแปรที่เราสร้างในขั้นตอนที่ 2 เข้ามาในสคริปต์ ดังนี้

วิธีการเพิ่ม Schema Markup ผ่าน Google Tag Manager

  • เมื่อเสร็จสิ้นแล้วกดปุ่ม Save และ Publish ได้เลย

เพียงเท่านี้ Googlebot จะสามารถรับรู้ได้ว่า ในทุกๆหน้าที่ contains /blog/ คือหน้าบทความ เพราะว่าเราได้ทำการเพิ่ม Article Schema Markup เข้าไปในหน้าประเภทนี้แล้วเรียบร้อย

วิธีการทดสอบ Schema Markup ผ่าน Google Tag Manager

หากเราอยากทดสอบว่า Schema ที่ถูกติดตั้งผ่าน Google Tag Manager ขึ้นไปสำเร็จหรือไม่ เราจะใช้ Google tool ที่ชื่อว่า Rich Result เพื่อทำการตรวจสอบ วิธีการตรวจสอบง่ายมากเพียง copy URL ของบทความที่ต้องการทดสอบว่าแสดงผล Article Schema หรือไม่ลงไปใน Search Bar แล้วกด Test URL

เพียงเท่านี้เราก็จะรู้แล้วว่า Google รับรู้ถึง Schema ที่ติดผ่าน Google Tag Manager หรือไม่ตามรูปภาพด้านล่าง

วิธีการเพิ่ม Schema Markup ผ่าน Google Tag Manager

 

จากภาพนี้สามารถอ่านผลลัพธ์ได้ว่า ใน URL: https://angamastery.co.th/blog/ มี Page Title ว่า “อัปเดตข่าวการตลาดออนไลน์ เทคโนโลยี การทำธุรกิจ” เพียงเท่านี้ก็เป็นหลักฐานแล้วว่า เราสามารถติดตั้ง Schema Markup ผ่าน GTM ได้สำเร็จ

สรุป

การติด Schema Markup ผ่าน Google Tag Manager เป็นสกิลขั้นสูงที่นักการตลาดที่เป็นสาย Tech จะชื่นชอบ อย่างไรก็ตามยังมีวิธีการติด Schema อีกมากมายผ่าน Google Tag Manager 

 

หากอยากเรียนรู้เพิ่มเติม ตอนนี้ ANGA MASTERY มีเปิดคอร์สสอน SEO สำหรับผู้บริหาร เจ้าของธุรกิจ และ SEO Specialist ซึ่งจะบอกเคล็ดลับการทำ SEO ฉบับ ANGA จากคุณ คุณเกน รัชวิทย์ หวังพัฒนธน, Managing Director ที่ ANGA Group โดยตรง รับรองว่าเนื้อหาจะไม่สามารถหาได้ที่ไหนแน่นอนเนื่องจาก คอร์สนี้จะถูกออกแบบและบริหารโดยตรงจากเอเจนซี่ที่เชี่ยวชาญด้าน SEO

Related News

คู่มือการทำ Schema Markup บน WordPress ฉบับสมบูรณ์ โดยไม่ต้องเขียนโค้ด

Wordpress schema markup เป็นทักษะที่ SEO Specialist ควรเชี่ยวชาญ ในบทความนี้ เราจะสอนการลงมือทำแบบละเอียดโดยไม่ต้องพึ่งโปรแกรมเมอร์

แชร์ 10 เทคนิคทำโฆษณาสินค้าโน้มน้าวใจ เร่งยอดขาย 2025

ธุรกิจจะอยู่รอดต่อไปในอนาคตได้หรือไม่ ยอดขายเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดที่สำคัญที่สุด เพราะถ้าคุณมียอดขายสูงพอ มันก็จะครอบคลุมในส่วนของเงินทุนที่เสียไปในตอนแรกและได้ทั้งกำไรที่จะต่อยอดธุรกิจต่อไป ซึ่งแบรนด์อย่างเรา ๆ ก็ต้องพยายามกระตุ้นความต้องการของผู้บริโภค ให้พวกเขารู้สึกว่าจำเป็นต้องมีสิ่งนี้ และตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการนั้นในท้ายที่สุด ผ่านการพูดโน้มน้าวใจโฆษณาสินค้าไปยังช่องทางต่าง ๆ อาทิ TikTok, Facebook หรือ Website ด้วยเหตุนี้การโฆษณาสินค้าโน้มน้าวใจ จึงไม่ได้มีหน้าที่เพียงกระตุ้นความต้องการแล้วจบไปเท่านั้น แต่เป็นการกระตุ้นให้เกิด Conversion ขึ้นจริง มาทำความเข้าใจเรื่องโฆษณาสินค้าโน้มน้าวใจ พร้อมดูตัวอย่างการโฆษณาสินค้าโน้มน้าวใจจากแบรนด์ต่าง ๆ กับ ANGA Mastery ได้ที่นี่เลย

Google My Business คือเครื่องมือสำคัญ ที่ทุกธุรกิจห้ามพลาด

เพื่อความอยู่รอดของธุรกิจ ไม่ว่าใครก็ต้องหันมาพึ่งพาการทำการตลาดออนไลน์กันทั้งนั้น เพราะเราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าธุรกิจที่มีหน้าร้านหรือข้อมูลบนโลกออนไลน์ เป็นที่รู้จักและเติบโตได้เร็วกว่าธุรกิจที่ไม่มีข้อมูลบนโลกออนไลน์เลย ยิ่งธุรกิจใดมีการปักหมุดแผนที่ลงไปใน Google Maps และใส่ข้อมูลรายละเอียดของธุรกิจอย่างครบครันด้วยล่ะก็ ก็ยิ่งมีโอกาสที่จะได้ลูกค้าใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นมากเท่านั้น ในวันนี้ ANGA Mastery จะมาแนะนำให้คุณรู้จักว่า Google My Business คืออะไร บอกได้เลยว่าสิ่งนี้ช่วยธุรกิจของคุณได้มาก ทั้งธุรกิจที่มีหน้าร้านก็ดี หรือธุรกิจที่ไม่มีหน้าร้านก็ตาม อีกทั้งยังส่งผลดีต่อการทำ SEO พร้อมกับเพิ่มประสิทธิภาพของการทำ Local SEO ให้กับธุรกิจที่มีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง

คู่มือการทำ Schema Markup บน WordPress ฉบับสมบูรณ์ โดยไม่ต้องเขียนโค้ด

Wordpress schema markup เป็นทักษะที่ SEO Specialist ควรเชี่ยวชาญ ในบทความนี้ เราจะสอนการลงมือทำแบบละเอียดโดยไม่ต้องพึ่งโปรแกรมเมอร์

แชร์ 10 เทคนิคทำโฆษณาสินค้าโน้มน้าวใจ เร่งยอดขาย 2025

ธุรกิจจะอยู่รอดต่อไปในอนาคตได้หรือไม่ ยอดขายเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดที่สำคัญที่สุด เพราะถ้าคุณมียอดขายสูงพอ มันก็จะครอบคลุมในส่วนของเงินทุนที่เสียไปในตอนแรกและได้ทั้งกำไรที่จะต่อยอดธุรกิจต่อไป ซึ่งแบรนด์อย่างเรา ๆ ก็ต้องพยายามกระตุ้นความต้องการของผู้บริโภค ให้พวกเขารู้สึกว่าจำเป็นต้องมีสิ่งนี้ และตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการนั้นในท้ายที่สุด ผ่านการพูดโน้มน้าวใจโฆษณาสินค้าไปยังช่องทางต่าง ๆ อาทิ TikTok, Facebook หรือ Website ด้วยเหตุนี้การโฆษณาสินค้าโน้มน้าวใจ จึงไม่ได้มีหน้าที่เพียงกระตุ้นความต้องการแล้วจบไปเท่านั้น แต่เป็นการกระตุ้นให้เกิด Conversion ขึ้นจริง มาทำความเข้าใจเรื่องโฆษณาสินค้าโน้มน้าวใจ พร้อมดูตัวอย่างการโฆษณาสินค้าโน้มน้าวใจจากแบรนด์ต่าง ๆ กับ ANGA Mastery ได้ที่นี่เลย

Google My Business คือเครื่องมือสำคัญ ที่ทุกธุรกิจห้ามพลาด

เพื่อความอยู่รอดของธุรกิจ ไม่ว่าใครก็ต้องหันมาพึ่งพาการทำการตลาดออนไลน์กันทั้งนั้น เพราะเราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าธุรกิจที่มีหน้าร้านหรือข้อมูลบนโลกออนไลน์ เป็นที่รู้จักและเติบโตได้เร็วกว่าธุรกิจที่ไม่มีข้อมูลบนโลกออนไลน์เลย ยิ่งธุรกิจใดมีการปักหมุดแผนที่ลงไปใน Google Maps และใส่ข้อมูลรายละเอียดของธุรกิจอย่างครบครันด้วยล่ะก็ ก็ยิ่งมีโอกาสที่จะได้ลูกค้าใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นมากเท่านั้น ในวันนี้ ANGA Mastery จะมาแนะนำให้คุณรู้จักว่า Google My Business คืออะไร บอกได้เลยว่าสิ่งนี้ช่วยธุรกิจของคุณได้มาก ทั้งธุรกิจที่มีหน้าร้านก็ดี หรือธุรกิจที่ไม่มีหน้าร้านก็ตาม อีกทั้งยังส่งผลดีต่อการทำ SEO พร้อมกับเพิ่มประสิทธิภาพของการทำ Local SEO ให้กับธุรกิจที่มีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง

logo

ติดต่อเรา

ANGA Mastery คือแพลตฟอร์มแห่งการเรียนรู้ด้านการตลาดในยุคดิจิตอล ที่ไม่ใช่แค่ทฤษฎี แต่เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงของเอเจนซีชั้นนำที่เคยลงมือทำจริง เรียนรู้เทคนิคที่ใช้ได้ผลจริง และนำไปปรับใช้กับธุรกิจของคุณได้ทันที เหมาะสำหรับ ผู้บริหารองค์กร เช่น CEO, MD, VP, ผู้บริหารระดับสูง นักการตลาดระดับสูง เช่น Marketing Manager และ เจ้าของธุรกิจ