Content Pillar คืออะไร กลยุทธ์วางแผนคอนเทนต์ให้โดนใจลูกค้า

By Suppanat Thaiyanant I Google Analytics 4 Specialist

30 OCTOBER 24

57

11.webp

Content Pillar คืออะไร กลยุทธ์วางแผนคอนเทนต์ให้โดนใจลูกค้า

ถ้าคุณเป็นนักการตลาดออนไลน์ นักเขียน หรือครีเอเตอร์ คุณคงจะเคยเห็นประโยค “Content is King” หรือ “คอนเทนต์คือราชา” ผ่านหูผ่านตามาบ้าง ซึ่งคำกล่าวนี้เป็นเรื่องจริง เพราะคอนเทนต์ (เนื้อหา) คือสิ่งสำคัญและเป็นตัวชี้วัดเลยว่าการทำการตลาดออนไลน์ของธุรกิจคุณจะรอดหรือร่วง? ถ้าคุณอยากก้าวขึ้นไปสู่การเป็นราชาบนโลกออนไลน์ด้วยการสร้างคอนเทนต์อย่างมีชั้นเชิง โดดเด่นเหนือคู่แข่ง และไม่ต้องปวดหัวเพราะไอเดียตัน ต้องมาทำความรู้จักกับ Content Pillar ที่สุดของกลยุทธ์การปั้นคอนเทนต์!  Content Pillar คืออะไร มีอะไรบ้าง ทำยังไง และสำคัญกับธุรกิจออนไลน์อย่างไร มาทำความเข้าใจในบทความนี้ได้เลย

Content Pillar คืออะไร?

Content Pillar คือหัวใจหลักของการทำคอนเทนต์ หรือเปรียบเสมือนเสาหลักของคอนเทนต์ทั้งหมดที่คุณต้องการใช้ในการทำการตลาดออนไลน์ หน้าที่หลัก ๆ ของ Content Pillar คือการจัดระเบียบคอนเทนต์ให้เป็นหมวดหมู่ที่ชัดเจน เพื่อที่คุณจะสามารถวางแผนการสร้างและเผยแพร่เนื้อหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจุดประสงค์ของ Content Pillar คือการกำหนดทิศทางของคอนเทนต์ ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของแบรนด์หรือเป้าหมายของธุรกิจ

Content Pillar เป็นเหมือนโครงสร้างที่เอาไว้ให้คอนเทนต์ต่าง ๆ ของแบรนด์ยึดเหนี่ยวไว้ ส่งผลให้ไม่ว่าแบรนด์ของคุณจะทำคอนเทนต์ลงบน Social Media แพลตฟอร์มไหน หรือจะโพสต์คอนเทนต์ลงบนเว็บไซต์ (Blog) เท่าไหร่ ทุกคอนเทนต์ก็จะมีความเชื่อมโยงและเกี่ยวข้องกัน ไม่มีคอนเทนต์ไหนที่แตกต่างจากเพื่อน เมื่อมองภาพโดยรวม ส่งผลให้ผู้บริโภคหรือกลุ่มเป้าหมายเห็นภาพลักษณ์ของแบรนด์ชัดเจนขึ้น และเรื่องนี้ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญมาก ๆ ในโลกของการทำธุรกิจออนไลน์

ประเภทของ Content Pillar มีอะไรบ้าง

คุณสามารถแบ่ง Content Pillar ได้ออกเป็นหลายประเภท ไม่ต่างกับประเภทของ Content Marketing เลย ซึ่งแต่ละแบรนด์สามารถกำหนดประเภทของ Content Pillar ได้ตามความต้องการ ตามแนวทางการทำคอนเทนต์หรือเป้าหมายที่แบรนด์อยากจะบรรลุ ซึ่งใน 1 คอนเทนต์อาจจะประกอบไปด้วย Content Pillar หลายประเภทได้ สำหรับ ANGA Mastery ขอแบ่ง Content Pillar ออกเป็น 3 ประเภทหลัก ดังนี้

1. การแบ่งตามประเภทของเนื้อหาในคอนเทนต์

  • Lifestyle : คอนเทนต์ทั่ว ๆ ไปในชีวิตประจำวัน เช่น อาหาร ท่องเที่ยว สุขภาพ ความงาม แฟชั่น ฯลฯ
  • Education : คอนเทนต์ให้ความรู้และหรือให้ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้รับ
  • Branded : คอนเทนต์เกี่ยวกับแบรนด์ เช่น การนำเสนอจุดเด่น หรือประวัติความเป็นมาของแบรนด์
  • Realtime : คอนเทนต์ตามกระแสหรือคอนเทนต์ที่ทำตามเทรนด์ปัจจุบันในขณะนั้น
  • Seasoning Content : คอนเทนต์ที่เกี่ยวข้องกับเทศกาลหรือวันสำคัญต่าง ๆ 

2. การแบ่งตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ

  • Brand Awareness : คอนเทนต์ที่จะทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักและเป็นที่จดจำในวงกว้าง
  • Engagement : เพิ่มเอนเกจเมนต์ให้กับบัญชีของธุรกิจ อาทิ เพิ่มยอดไลก์ ยอดคลิก ยอดวิว หรือ Follower
  • Selling : คอนเทนต์กระตุ้นยอดขาย อย่างคอนเทนต์แจ้งโปรโมชั่นหรือนำเสนอสินค้าใหม่ ๆ 
  • Reviews : คอนเทนต์รีวิวผลลัพธ์หลังใช้สินค้าหรือรับบริการจากลูกค้าจริง หรือ User-generated Content

3. รูปแบบในการนำเสนอคอนเทนต์

  • Blog Post : บทความบนเว็บไซต์ หรือ SEO Blog Content สำหรับให้ข้อมูลยาว ๆ  
  • Organic Post : คอนเทนต์ทั่ว ๆ ไปที่โพสต์ไปบนโซเชียลมีเดีย โดยที่ไม่ได้ยิงโฆษณา
  • Advertising : คอนเทนต์ที่นำไปยิงโฆษณา (จ่ายเงินเพื่อให้เข้าถึงคนจำนวนมาก) เช่น TikTok Ads, Instagram Ads, Facebook Ads CPAS Ads หรือ Google Ads
  • Infographics : คอนเทนต์ที่สรุปเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ ลงไปในภาพเดียว
  • Video : คอนเทนต์ที่อยู่ในรูปแบบของภาพเคลื่อนไหวและมีเสียงประกอบ (ทั้งวิดีโอสั้นและวิดีโอยาว)
  • Podcast : คอนเทนต์ที่อยู่ในรูปแบบของเสียง ที่พูดหรือเล่าเกี่ยวกับหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง อาจจะเป็นการให้ความรู้หรือสร้างความบันเทิงก็ได้ (รู้เรื่องได้ แม้ไม่ได้มองภาพประกอบ)

ประโยชน์ของ Content Pillar ต่อการทำธุรกิจออนไลน์

ความเป็นระบบระเบียบและชัดเจนของคอนเทนต์ จากการทำ Content Pillar มีประโยชน์ต่อธุรกิจออนไลน์หลากหลายด้าน อีกทั้งประโยชน์ที่ว่านั้นก็ยังยั่งยืนจนเห็นผลในระยะยาวด้วย และนี่คือประโยชน์ของ Content Pillar ที่เราอยากให้คุณรู้!

1. เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ตรงจุด

Content Pillar ช่วยให้ธุรกิจสามารถนำเสนอคอนเทนต์ที่ตรงกับความสนใจของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุดและแม่นยำ ทำให้ผู้ชมรู้สึกว่าคอนเทนต์ที่แบรนด์สร้างนั้น มีคุณค่าและตรงกับความต้องการของพวกเขา เช่น แบรนด์ลูกอมไร้น้ำตาล ทำคอนเทนต์ “ลูกอม VS ลูกอมไม่มีน้ำตาล แตกต่างกันอย่างไร” หรือ “ข้อดีของลูกอม Sugar Free” เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่อยากทานลูกอม แต่ไม่อยากเพิ่มน้ำตาลให้แก่ร่างกายโดยตรง พร้อมทั้งเปิดรับผู้บริโภคที่ชื่นชอบการทานลูกอม ให้มารู้จักลูกอมไร้น้ำตาลและประโยชน์ของมัน

2. สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า

แนวทางที่ดีสำหรับการทำ Content Pillar คือการคำนึงถึงประโยชน์ของกลุ่มเป้าหมายหรือผู้บริโภค มากกว่าการเน้นจุดเด่นของแบรนด์ เพราะแนวทางนี้จะทำให้ผู้บริโภครู้สึกอินและประทับใจไปกับคุณ ซึ่งจะช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดี จนนำไปสู่ Brand Loyalty ได้ เช่น แบรนด์เสื้อผ้าแฟชั่นผู้หญิง สำหรับสาว ๆ วัยทำงาน ทำคอนเทนต์ “Try On กางเกงขายาว สำหรับคนสูง 155 165 และ 170” เพื่อให้ลูกค้าที่มีส่วนสูงที่แตกต่างกัน ได้เห็นว่าถ้าตัวเองใส่กางเกงรุ่นนี้ ความยาวและทรงจะอยู่ที่ประมาณไหน ซึ่งเป็นประโยชน์และช่วยให้พวกเขาติดสินใจได้ง่ายขึ้น

3. ดันอันดับ SEO เพิ่ม Organic Traffic บนเว็บไซต์

คุณสามารถทำ Content Pillar สำหรับคอนเทนต์บนเว็บไซต์ เพื่อเพิ่มโอกาสในการทำให้เว็บไซต์ติดอันดับการค้นหาบน Google Search หรือที่เราเรียกว่า SEO ได้ ซึ่งอาจจะเป็นการทำ Content Pillar ของคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการหลัก เช่น สถาบันสอนทำการตลาดออนไลน์​ ได้ทำ Blog Content ที่เกี่ยวกับคอร์สเรียนการตลาดออนไลน์ที่มี อย่าง “คอร์สเรียน SEO”, “คอร์สสอนยิงแอด” หรือ “คอร์สเรียน Google Analytics 4” เพื่อให้เนื้อหานี้เข้าถึงกลุ่มผู้ที่สนใจเรียนทำการตลาดออนไลน์ในด้านต่าง ๆ 

ขั้นตอนการสร้าง Content Pillar ให้มีประสิทธิภาพ

อยากให้ Content Pillar มีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ของธุรกิจ ต้องเริ่มต้นด้วยการวางแผนทุกอย่างให้ละเอียดและชัดเจน ตั้งแต่การกำหนดเป้าหมาย > วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายและคู่แข่ง > การเลือกหัวข้อคอนเทนต์ให้เหมาะสม > กำหนดรูปแบบในการสร้างคอนเทนต์แต่ละชิ้น > การระบุช่องทางในการเผยแพร่คอนเทนต์ และสร้าง Content Calendar ให้เห็นภาพชัด ๆ ดังนี้

  1. กำหนดเป้าหมายวัตถุประสงค์หลักของแบรนด์ เช่น สร้าง Brand Awareness หรือสร้างยอดขาย พร้อมกับกำหนด KPIs ว่าคุณจะวัดผลความสำเร็จจากอะไร
  2. วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายและทำความเข้าใจ Pain Points เพื่อที่จะได้สร้างคอนเทนต์ที่เป็นประโยชน์แก่พวกเขา
  3. ศึกษากลยุทธ์การทำคอนเทนต์ของคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกัน พร้อมวิเคราะห์ SWOT ของคู่แข่ง
  4. เลือกหัวข้อคอนเทนต์ให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ เช่น ต้องการสร้างยอดขาย อาจจะเน้นไปที่คอนเทนต์โปรโมชัน นำเสนอสินค้าราคาพิเศษ เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าซื้อสินค้า
  5. กำหนดรูปแบบในการสร้างคอนเทนต์แต่ละชิ้น เช่น Single Post, Album Post, Video ฯลฯ
  6. ระบุช่องทางในการเผยแพร่คอนเทนต์ เช่น วิดีโอสั้น โพสต์ลง TikTok, วิดีโอยาว เนื้อหาแน่น โพสต์ลง YouTube หรือคอนเทนต์ที่เป็นรูปภาพ โพสต์ลง Facebook เป็นต้น
  7. สร้าง Content Calendar (ปฏิทินเนื้อหา) ระบุว่าวันใดลงคอนเทนต์อะไร หัวข้อไหน รูปแบบใด และช่องทางไหน เพื่อให้เห็นภาพรวมของ Content Pillar ที่จัดทำแบบชัด ๆ 
Content-Pillar-ตัวอย่าง-_1_.webp

                                                           ขอบคุณ Content Pillar ตัวอย่างจาก Loomly

บทสรุป

สรุปว่า Content Pillar คือกลยุทธ์การสร้างเนื้อหาที่เป็นหัวใจสำคัญของการทำการตลาดออนไลน์ในยุคที่เต็มไปด้วยคอนเทนต์อย่างทุกวันนี้ เพราะ Content Pillar จะช่วยให้แบรนด์สามารถวางแผนได้อย่างตรงจุด และผลิตคอนเทนต์ที่ตรงใจกลุ่มเป้าหมาย สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ และสามารถสร้างความน่าเชื่อถือในระยะยาวได้ ถ้าตอนนี้แบรนด์ของคุณกำลังทำคอนเทนต์ลงบนสื่อออนไลน์แบบไม่มีแผน หรือมองภาพรวมแล้วดูเหมือนคนละแบรนด์ล่ะก็ คุณต้องรีบทำ Content Pillar ได้แล้ว!

Related News

คู่มือการทำ Schema Markup บน WordPress ฉบับสมบูรณ์ โดยไม่ต้องเขียนโค้ด

Wordpress schema markup เป็นทักษะที่ SEO Specialist ควรเชี่ยวชาญ ในบทความนี้ เราจะสอนการลงมือทำแบบละเอียดโดยไม่ต้องพึ่งโปรแกรมเมอร์

แชร์ 10 เทคนิคทำโฆษณาสินค้าโน้มน้าวใจ เร่งยอดขาย 2025

ธุรกิจจะอยู่รอดต่อไปในอนาคตได้หรือไม่ ยอดขายเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดที่สำคัญที่สุด เพราะถ้าคุณมียอดขายสูงพอ มันก็จะครอบคลุมในส่วนของเงินทุนที่เสียไปในตอนแรกและได้ทั้งกำไรที่จะต่อยอดธุรกิจต่อไป ซึ่งแบรนด์อย่างเรา ๆ ก็ต้องพยายามกระตุ้นความต้องการของผู้บริโภค ให้พวกเขารู้สึกว่าจำเป็นต้องมีสิ่งนี้ และตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการนั้นในท้ายที่สุด ผ่านการพูดโน้มน้าวใจโฆษณาสินค้าไปยังช่องทางต่าง ๆ อาทิ TikTok, Facebook หรือ Website ด้วยเหตุนี้การโฆษณาสินค้าโน้มน้าวใจ จึงไม่ได้มีหน้าที่เพียงกระตุ้นความต้องการแล้วจบไปเท่านั้น แต่เป็นการกระตุ้นให้เกิด Conversion ขึ้นจริง มาทำความเข้าใจเรื่องโฆษณาสินค้าโน้มน้าวใจ พร้อมดูตัวอย่างการโฆษณาสินค้าโน้มน้าวใจจากแบรนด์ต่าง ๆ กับ ANGA Mastery ได้ที่นี่เลย

Google My Business คือเครื่องมือสำคัญ ที่ทุกธุรกิจห้ามพลาด

เพื่อความอยู่รอดของธุรกิจ ไม่ว่าใครก็ต้องหันมาพึ่งพาการทำการตลาดออนไลน์กันทั้งนั้น เพราะเราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าธุรกิจที่มีหน้าร้านหรือข้อมูลบนโลกออนไลน์ เป็นที่รู้จักและเติบโตได้เร็วกว่าธุรกิจที่ไม่มีข้อมูลบนโลกออนไลน์เลย ยิ่งธุรกิจใดมีการปักหมุดแผนที่ลงไปใน Google Maps และใส่ข้อมูลรายละเอียดของธุรกิจอย่างครบครันด้วยล่ะก็ ก็ยิ่งมีโอกาสที่จะได้ลูกค้าใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นมากเท่านั้น ในวันนี้ ANGA Mastery จะมาแนะนำให้คุณรู้จักว่า Google My Business คืออะไร บอกได้เลยว่าสิ่งนี้ช่วยธุรกิจของคุณได้มาก ทั้งธุรกิจที่มีหน้าร้านก็ดี หรือธุรกิจที่ไม่มีหน้าร้านก็ตาม อีกทั้งยังส่งผลดีต่อการทำ SEO พร้อมกับเพิ่มประสิทธิภาพของการทำ Local SEO ให้กับธุรกิจที่มีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง

คู่มือการทำ Schema Markup บน WordPress ฉบับสมบูรณ์ โดยไม่ต้องเขียนโค้ด

Wordpress schema markup เป็นทักษะที่ SEO Specialist ควรเชี่ยวชาญ ในบทความนี้ เราจะสอนการลงมือทำแบบละเอียดโดยไม่ต้องพึ่งโปรแกรมเมอร์

แชร์ 10 เทคนิคทำโฆษณาสินค้าโน้มน้าวใจ เร่งยอดขาย 2025

ธุรกิจจะอยู่รอดต่อไปในอนาคตได้หรือไม่ ยอดขายเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดที่สำคัญที่สุด เพราะถ้าคุณมียอดขายสูงพอ มันก็จะครอบคลุมในส่วนของเงินทุนที่เสียไปในตอนแรกและได้ทั้งกำไรที่จะต่อยอดธุรกิจต่อไป ซึ่งแบรนด์อย่างเรา ๆ ก็ต้องพยายามกระตุ้นความต้องการของผู้บริโภค ให้พวกเขารู้สึกว่าจำเป็นต้องมีสิ่งนี้ และตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการนั้นในท้ายที่สุด ผ่านการพูดโน้มน้าวใจโฆษณาสินค้าไปยังช่องทางต่าง ๆ อาทิ TikTok, Facebook หรือ Website ด้วยเหตุนี้การโฆษณาสินค้าโน้มน้าวใจ จึงไม่ได้มีหน้าที่เพียงกระตุ้นความต้องการแล้วจบไปเท่านั้น แต่เป็นการกระตุ้นให้เกิด Conversion ขึ้นจริง มาทำความเข้าใจเรื่องโฆษณาสินค้าโน้มน้าวใจ พร้อมดูตัวอย่างการโฆษณาสินค้าโน้มน้าวใจจากแบรนด์ต่าง ๆ กับ ANGA Mastery ได้ที่นี่เลย

Google My Business คือเครื่องมือสำคัญ ที่ทุกธุรกิจห้ามพลาด

เพื่อความอยู่รอดของธุรกิจ ไม่ว่าใครก็ต้องหันมาพึ่งพาการทำการตลาดออนไลน์กันทั้งนั้น เพราะเราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าธุรกิจที่มีหน้าร้านหรือข้อมูลบนโลกออนไลน์ เป็นที่รู้จักและเติบโตได้เร็วกว่าธุรกิจที่ไม่มีข้อมูลบนโลกออนไลน์เลย ยิ่งธุรกิจใดมีการปักหมุดแผนที่ลงไปใน Google Maps และใส่ข้อมูลรายละเอียดของธุรกิจอย่างครบครันด้วยล่ะก็ ก็ยิ่งมีโอกาสที่จะได้ลูกค้าใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นมากเท่านั้น ในวันนี้ ANGA Mastery จะมาแนะนำให้คุณรู้จักว่า Google My Business คืออะไร บอกได้เลยว่าสิ่งนี้ช่วยธุรกิจของคุณได้มาก ทั้งธุรกิจที่มีหน้าร้านก็ดี หรือธุรกิจที่ไม่มีหน้าร้านก็ตาม อีกทั้งยังส่งผลดีต่อการทำ SEO พร้อมกับเพิ่มประสิทธิภาพของการทำ Local SEO ให้กับธุรกิจที่มีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง

logo

ติดต่อเรา

ANGA Mastery คือแพลตฟอร์มแห่งการเรียนรู้ด้านการตลาดในยุคดิจิตอล ที่ไม่ใช่แค่ทฤษฎี แต่เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงของเอเจนซีชั้นนำที่เคยลงมือทำจริง เรียนรู้เทคนิคที่ใช้ได้ผลจริง และนำไปปรับใช้กับธุรกิจของคุณได้ทันที เหมาะสำหรับ ผู้บริหารองค์กร เช่น CEO, MD, VP, ผู้บริหารระดับสูง นักการตลาดระดับสูง เช่น Marketing Manager และ เจ้าของธุรกิจ