13 MARCH 25
136
WordPress เป็นเครื่องมือสร้างเว็บไซต์ที่โดดเด่นเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในหมู่ของเจ้าของเว็บไซต์ที่ต้องการทำ SEO ให้ติดหน้าแรก เพราะโครงสร้างของ WordPress ถูกออกแบบมาให้เอื้ออำนวยต่อการทำ SEO เป็นอย่างดี เนื่องจากการสร้างเว็บ WordPress มันดูเป็นอะไรที่ใช้ความรู้ด้านเทคนิคค่อนข้างมาก ทำให้หลาย ๆ คนมองว่าจะต้องจ้างบริษัทรับทำ SEO ที่มีบริการรับสร้างเว็บไซต์ หรือไม่ก็ต้องจ้าง Web Developer มืออาชีพเท่านั้น แน่นอนว่าค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เพราะฉะนั้น วันนี้ ANGA Mastery จึงจะมาสอนสร้างเว็บไซต์ WordPress ด้วยตัวเอง ฉบับอัปเดต 2025 สำหรับคนที่อยากทำเว็บ WordPress แต่มีงบประมาณจำกัด รวมถึงคนที่อยากฝึกฝนทักษะทำเว็บไซต์ WordPress เพื่อเอาไปต่อยอดด้านการทำงาน
WordPress คือระบบจัดการเนื้อหาเว็บไซต์ (Content Management System หรือ CMS) ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในโลก พัฒนาด้วยภาษา PHP และใช้ฐานข้อมูล MySQL ในการจัดเก็บข้อมูล จุดเด่นของ WordPress อยู่ที่ความง่ายในการใช้งาน ผู้ใช้สามารถสร้างและจัดการเว็บไซต์ได้โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านการเขียนโค้ด ผ่านระบบหลังบ้าน (Dashboard) ที่ออกแบบมาให้ใช้งานได้อย่างสะดวก เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นที่ต้องการสร้างเว็บไซต์ด้วยตัวเอง
นอกจากนี้ WordPress ยังเป็นซอฟต์แวร์ที่เปิดให้ใช้งานฟรี พร้อมกับมีชุมชนของนักพัฒนาจากทั่วทุกมุมโลก ที่คอยสร้างธีมและปลั๊กอิน WordPress ใหม่ ๆ อยู่เสมอ คุณสามารถปรับแต่งเว็บไซต์ได้อย่างอิสระและหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์องค์กร เว็บไซต์ขายของออนไลน์ หรือเว็บไซต์ประเภทใดก็ตาม รวมถึง WordPress ยังมีระบบหลังบ้านที่ใช้งานง่ายด้วย ทำให้คุณปรับแต่งเว็บไซต์ อัปเดตเนื้อหา หรืออัปโหลดบทความ SEO ได้ทุกที่ทุกเวลา
ไม่ว่าจะเป็นมือใหม่หรือผู้เชี่ยวชาญต่างก็เลือกใช้ WordPress สร้างเว็บในการทำธุรกิจและนำเสนอผลงานของตัวเอง เพราะความครบครัน การใช้งานที่ตอบโจทย์ และคุณสมบัติสุดเพียบพร้อม จึงทำให้ตอบโจทย์กับผู้ใช้งานทุกระดับ แถมยังส่งผลดีต่อธุรกิจในระยะยาวด้วย มาดูกันว่าการสร้างเว็บ WordPress มีข้อดีอะไรบ้าง
WordPress มีการออกแบบระบบหลังบ้านให้ง่ายต่อการจัดการ คุณสามารถเพิ่มเนื้อหา รูปภาพ หรือแก้ไขส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ทันที ทุกที่ทุกเวลา และมีการอัปเดตแบบเรียลไทม์ โดยไม่ต้องพึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคและทักษะในการเขียนโค้ดใด ๆ
WordPress มีปลั๊กอินให้เลือกมากกว่า 60,000 ตัว ครอบคลุมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพของการทำ SEO, การรักษาความปลอดภัย, ระบบการชำระเงิน, การเปลี่ยนเว็บไซต์ธรรมดาให้เป็นเว็บไซต์ขายของออนไลน์ ฯลฯ คุณจึงสามารถเพิ่มความสามารถให้เว็บไซต์ได้ไม่จำกัด
WordPress มีธีมให้เลือกหลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบฟรีและพรีเมียม แต่ละธีมถูกออกแบบมาให้รองรับทุกอุปกรณ์ ตั้งแต่มือถือไปจนถึงคอมพิวเตอร์ คุณสามารถเลือกธีมที่เหมาะกับธุรกิจและปรับแต่งให้ตรงกับแบรนด์ของคุณได้อย่างอิสระ
SEO Friendly คือจุดเด่นอีกอย่างหนึ่งของ WordPress ที่ทำให้หลาย ๆ คนเลือกใช้งาน เพราะทำให้เนื้อหาของคุณมีโอกาสติดอันดับบน Google ได้ง่ายยิ่งขึ้น ซึ่ง WordPress ถูกพัฒนามาให้เป็นมิตรกับ SEO ตั้งแต่โครงสร้างพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นการจัดการ URL การปรับแต่ง Meta Tags หรือการเพิ่มความเร็วในการโหลดหน้าเว็บก็ตาม
WordPress มีการอัปเดตระบบรักษาความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ และมีชุมชนนักพัฒนาที่คอยตรวจสอบและแก้ไขช่องโหว่ต่าง ๆ อยู่เรื่อย ๆ ดังนั้น ไว้วางใจเรื่องความปลอดภัยได้เลย นอกจากนี้ คุณยังสามารถเสริมความปลอดภัยให้เว็บไซต์ได้เพิ่มเติมด้วยปลั๊กอินด้านความปลอดภัยที่มีให้เลือกแบบจัดเต็ม
แม้ว่า WordPress จะเปิดให้ใช้งานได้ฟรี แต่การสร้างเว็บ WordPress ให้ใช้งานได้จริงนั้นจำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายพื้นฐานที่ต้องลงทุนเช่นกัน ซึ่งประกอบด้วยค่าโดเมนเนม ประมาณ 400-1,000 บาทต่อปี ค่าเว็บโฮสติ้งสำหรับเก็บข้อมูลเว็บไซต์ 1,500-3,000 บาทต่อปี และอาจมีค่าธีมหรือปลั๊กอินเพิ่มเติมตามฟีเจอร์ที่ต้องการ ตั้งแต่ 1,500-10,000 บาท เมื่อคุณเตรียมงบประมาณเหล่านี้พร้อมแล้ว ก็สามารถเริ่มสร้างเว็บไซต์ WordPress ได้ทันที ด้วย 8 ขั้นตอนต่อไปนี้เลย
การออกแบบเว็บไซต์เป็นขั้นตอนสำคัญที่ควรทำก่อนเริ่มสร้างเว็บไซต์จริง โดยเริ่มจากการวางแผนโครงสร้างเว็บไซต์และการจัดวางองค์ประกอบต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายและได้รับประสบการณ์ที่ดี เริ่มจากการเขียนโครงสร้างเนื้อหา (Sitemap) ที่ครอบคลุมทุกส่วนที่ต้องการนำเสนอ จากนั้นจึงร่างการจัดวางองค์ประกอบ (Wireframe) เพื่อกำหนดตำแหน่งของเนื้อหา รูปภาพ และส่วนประกอบอื่น ๆ ในแต่ละหน้า
การเลือกโดเมนเนมและโฮสติ้งเป็นพื้นฐานสำคัญของการสร้างเว็บไซต์ โดเมนเนมคือชื่อเว็บไซต์ที่ผู้ใช้จะใช้เข้าถึงเว็บของคุณ ควรเลือกชื่อที่สั้น จดจำง่าย และสื่อถึงธุรกิจของคุณ ส่วนโฮสติ้งคือพื้นที่เก็บข้อมูลเว็บไซต์บนเซิร์ฟเวอร์ ควรเลือกผู้ให้บริการที่มีความน่าเชื่อถือ มีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี และมีบริการสนับสนุนตลอด 24 ชั่วโมง
หลังจากมีโดเมนและโฮสติ้งแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการติดตั้ง WordPress ซึ่งสามารถทำได้ผ่านระบบติดตั้งอัตโนมัติที่มีมาให้ในแผงควบคุมของโฮสติ้ง หรือติดตั้งด้วยตัวเองผ่าน FTP โดยดาวน์โหลดไฟล์ WordPress ล่าสุดจากเว็บไซต์หลัก เมื่อติดตั้งเสร็จ คุณจะได้ระบบจัดการเนื้อหาที่พร้อมใช้งาน สามารถเริ่มปรับแต่งเว็บไซต์และเพิ่มเนื้อหาได้ทันที
หลังจากติดตั้ง WordPress เรียบร้อยแล้ว ถึงเวลาทำให้เว็บไซต์ของคุณสวยงามและใช้งานได้ตามต้องการ เริ่มจากการตั้งค่าพื้นฐานอย่างชื่อเว็บไซต์ โลโก้ และไอคอน รวมถึงจัดการเมนูให้เป็นระเบียบ ง่ายต่อการเข้าถึงของเหล่าผู้ใช้งาน และเลือกธีมที่ตรงกับประเภทธุรกิจหรือเหมาะกับภาพลักษณ์ของแบรนด์
อย่างที่บอกไปว่า WordPress มีปลั๊กอินให้เลือกหลายหมื่นตัว ครอบคลุมการจัดการและปรับแต่งเว็บไซต์ได้อย่างอิสระ แถมยังช่วยเพิ่มความสามารถให้เว็บไซต์ได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการสร้างหน้าเว็บด้วย Elementor ที่ใช้งานง่ายแบบลากวาง การเพิ่มระบบความปลอดภัย การทำให้เว็บโหลดเร็วขึ้น หรือการปรับแต่ง SEO เพื่อให้ติดอันดับบน Google ง่ายขึ้นก็ตาม ทั้งนี้ทั้งนั้น แนะนำให้ติดตั้งเฉพาะปลั๊กอินที่จำเป็นเท่านั้น ไม่อย่างนั้นอาจทำให้เว็บไซต์โหลดช้า เกิดข้อผิดพลาดง่าย จัดการยาก และส่งผลกระทบต่ออันดับ SEO ได้
ก่อนเปิดให้คนเข้าชมเว็บไซต์ คุณควรติดตั้งเครื่องมือวิเคราะห์ที่จะช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมผู้ใช้งานได้ดีขึ้น เริ่มจาก Google Analytics 4 ที่จะบอกว่าใครเข้าเว็บคุณบ้าง มาจากช่องทางไหน และทำอะไรในเว็บ ต่อด้วย Google Search Console ที่จะช่วยดูว่าเว็บคุณติดอันดับคำค้นหาอะไรบ้าง และถ้าคุณต้องการทำโฆษณาบน Facebook ก็อย่าลืมติดตั้ง Facebook Pixel เพื่อเก็บข้อมูลคนเข้าเว็บสำหรับการยิงโฆษณาให้ตรงกลุ่มเป้าหมายด้วยล่ะ
ข่าวดี! สำหรับผู้ที่สนใจคอร์สเรียนการตลาด (Marketing) ANGA Mastery เปิดสอนคอร์สเรียนโดยผู้เชี่ยวชาญจากเอเจนซี่ชั้นนำ ไม่ว่าจะเป็นคอร์สเรียน Google Analytics 4, คอร์สเรียน Google Ads, คอร์สเรียน SEO, คอร์สเรียน Facebook Ads และอื่น ๆ อีกเพียบ
เนื้อหาบทเว็บไซต์สำคัญมาก เพราะจะทำให้ Search Engine อย่าง Google และผู้ใช้งานรู้ว่าเว็บไซต์เราทำธุรกิจอะไร ซึ่ง WordPress แบ่งการจัดการเนื้อหาเป็นสองส่วนหลักคือ Page สำหรับเนื้อหาถาวรอย่างหน้าเกี่ยวกับเรา หน้าติดต่อ หรือหน้าบริการ และ Post สำหรับเนื้อหาที่อัปเดตบ่อย ๆ อย่างบทความให้ความรู้ ข่าวสาร หรือโปรโมชัน คุณสามารถใช้ตัวจัดการเนื้อหาของ WordPress หรือใช้ Page Builder อย่าง Elementor ช่วยจัดวางองค์ประกอบต่าง ๆ ให้สวยงามได้ตามต้องการ
ก่อนเปิดตัวเว็บไซต์อย่างเป็นทางการ มีสิ่งสำคัญที่ต้องตรวจสอบให้ครบถ้วน เริ่มจากทดสอบความเร็วของเว็บไซต์ผ่าน Google PageSpeed Insights เพื่อให้แน่ใจว่าเว็บโหลดได้เร็วพอ ตรวจสอบการแสดงผลบนอุปกรณ์และเบราว์เซอร์ต่าง ๆ ว่าทุกอย่างทำงานได้ถูกต้องหรือไม่ และที่สำคัญคือต้องเปิดให้ Search Engine เข้ามาเก็บข้อมูลเว็บไซต์ได้ด้วย โดยเข้าไปยกเลิกการติ๊กถูกที่ "Discourage search engines from indexing this site" ในส่วนการตั้งค่า เพื่อให้เว็บไซต์พร้อมปรากฏในผลการค้นหาของ Google หรือให้ Google เอาเว็บไซต์เราไปจัดอันดับได้นั่นเอง
วิธีสร้างเว็บ WordPress ด้วยตัวเองทั้ง 8 ขั้นตอนที่เราเอามาฝากกันในบทความนี้ เป็นวิธีสร้างเว็บไซต์ WordPress ฉบับเบื้องต้นที่ยังไม่ได้เจาะลึกไปจนถึงขั้น Advanced ในแต่ละส่วนอย่างละเอียด เนื่องจากแต่ละขั้นตอนมันมีรายละเอียดค่อนข้างมาก แต่ก็ช่วยให้คุณรู้แนวทางการทำเว็บ WordPress และมองเห็นภาพรวมว่าถ้าอยากทำเว็บไซต์ WordPress ต้องเริ่มต้นจากอะไร ควรทำอะไร และต้องเตรียมค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับคุณไม่มากก็น้อย อย่างไรก็ตาม สำหรับเจ้าของธุรกิจที่มีทุนจำนวนมาก ต้องการสร้างเว็บไซต์ใหญ่ที่มีรายละเอียดเยอะ หรือต้องการความเนี้ยบของเว็บไซต์ เรามองว่าการจ้างบริษัทรับทำเว็บไซต์หรือผู้เชี่ยวชาญเป็นทางเลือกที่ดีกว่า
พัฒนาสกิลที่ถูกต้องสำหรับผู้นำ
ด้านการตลาดออนไลน์
13 MARCH
ทำความเข้าใจ Media Plan คืออะไร กลยุทธ์วางแผนสื่อที่ช่วยให้ธุรกิจสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงกลุ่มและมีประสิทธิภาพสูง จนธุรกิจเติบโต
13 MARCH
13 MARCH
13 MARCH
13 MARCH
13 MARCH
ANGA Mastery คือแพลตฟอร์มแห่งการเรียนรู้ด้านการตลาดในยุคดิจิตอล ที่ไม่ใช่แค่ทฤษฎี แต่เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงของเอเจนซีชั้นนำที่เคยลงมือทำจริง เรียนรู้เทคนิคที่ใช้ได้ผลจริง และนำไปปรับใช้กับธุรกิจของคุณได้ทันที เหมาะสำหรับ ผู้บริหารองค์กร เช่น CEO, MD, VP, ผู้บริหารระดับสูง นักการตลาดระดับสูง เช่น Marketing Manager และ เจ้าของธุรกิจ