404 Not Found แก้ยังไง? มาดูวิธีแก้ไขและวิธีตรวจสอบกันเลย

By Rachavit Whangpatanathon I MD at ANGA Group

30 OCTOBER 24

656

404 Not Found แก้ยังไง เช็กอย่างไร อ่านจบเข้าใจใน 5 นาที.webp (1).webp

404 Not Found แก้ยังไง? มาดูวิธีแก้ไขและวิธีตรวจสอบกันเลย

เคยกดเข้าเว็บไซต์ไหนเพื่อที่จะอ่านข้อมูลเพิ่มเติม แต่ดันไปเจอกับหน้า 404 Not Found แทนไหม? นอกจากมันจะน่าหงุดหงิดใจในมุมของผู้ชมเว็บไซต์แล้ว ยังเป็นปัญหาร้ายแรงที่เจ้าของเว็บไซต์ควรแก้ไขโดยด่วนอีกด้วย เพราะมันสามารถทำให้คุณเสียโอกาสทางธุรกิจไปได้เลย แถมยังกระทบต่อผลลัพธ์ของการทำ SEO เช่นกัน ดังนั้น ANGA Mastery จะชวนคุณมาพูดคุยเกี่ยวกับปัญหา 404 Not Found ว่ามันคืออะไร? โดยจะเน้นไปที่วิธีแก้ 404 Not Found ทั้งในเว็บไซต์ทั่วไปและวิธีแก้ 404 Not Found ใน WordPress เพื่อคลายข้อสงสัยสำหรับคนที่กำลังค้นหาคำตอบว่า 404 Not Found แก้ยังไง 

404 Not Found คืออะไร

404 Not Found คือปัญหาลิงก์เสียที่อยู่บนเว็บไซต์ หรือการแสดงผลที่ผิดพลาดของหน้าเว็บไซต์ โดยจะมีข้อความแจ้งเตือนว่า “404 Not Found”, “404 Page Not Found” หรือ “ไม่พบหน้าเว็บที่คุณกำลังมองหา” ซึ่งเกิดจากได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการที่เซิร์ฟเวอร์ไม่สามารถเข้าถึงไฟล์ได้, โฮสติ้งมีปัญหา, การตั้งค่าในไฟล์ .htaccess ไม่ถูกต้อง, การเปลี่ยน URL จากภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่ง, การพิมพ์ URL ผิด, การเปลี่ยนหน้าเว็บไซต์จากตัว Demo ไปเป็นถาวร, การปรับเปลี่ยนโครงสร้างเว็บไซต์, การลบหน้าเว็บเก่าออกไป หรือการย้ายหน้าเว็บไซต์ โดยที่ไม่ได้มีการตั้งค่าการเปลี่ยนเส้นทาง เป็นต้น

404 Not Found ส่งผลกระทบต่อ SEO อย่างไร

ก่อนที่จะไปหาคำตอบว่า 404 Not Found แก้ยังไง ต้องทำความเข้าถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นของการที่เว็บไซต์มีหน้า 404 Not Found เสียก่อน อย่างแรกคือประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ที่ไม่น่าพึงพอใจ ทำให้เกิดความหงุดหงิดใจ และไม่อยากใช้งานเว็บไซต์นี้อีกต่อไป จนทำให้กดออกจากเว็บไซต์อย่างรวดเร็ว สิ่งที่ตามมาคือ Bounce Rate (อัตราการตีกลับ) ที่เพิ่มขึ้น เมื่อมี Bounce Rate สูงก็จะส่งผลต่อประสิทธิภาพของอันดับ SEO ด้วย

อีกทั้งการที่เว็บไซต์มี 404 Not Found หลาย ๆ หน้า จะทำให้ Googlebot เสียเวลาในการวิ่งเข้าไปเก็บข้อมูลในลิงก์เสียเหล่านี้ ซึ่งจะทำให้คุณเสียความน่าเชื่อถือทั้งในสายตาของ Google และผู้ใช้งาน นอกจากนี้ โอกาสทางธุรกิจที่คุณควรจะได้รับจากการที่ผู้ใช้งานเข้ามาบนเว็บไซต์ของคุณก็จะหายไปทันที ไม่ว่าจะเป็นความน่าเชื่อถือ การเป็นที่รู้จัก หรือยอดขายก็ตาม

วิธีเช็ก 404 Not Found บนเว็บไซต์เรา

ไม่จำเป็นต้องรอให้ลูกค้าแจ้ง หรือบังเอิญเปิดไปเจอหน้า 404 Not Found ด้วยตัวเอง คุณสามารถเช็กปัญหานี้ได้ง่าย ๆ ผ่านเครื่องมือ SEO อย่าง Google Search Console (GSC) ที่เป็นเครื่องมือตรวจสอบคุณภาพเว็บไซต์ของ Google ที่เปิดให้ใช้งานฟรี หรือ Ubersuggest ก็ได้เช่นกัน

วิธีเช็ก 404 Not Found ใน GSC

  1. เข้าสู่ระบบ Google Search Console ด้วยบัญชี Google ของคุณ
  2. เลือกเว็บไซต์ที่คุณต้องการตรวจสอบจากรายการ Property
  3. ในเมนูด้านซ้าย ให้คลิกที่ "ดัชนี" (Index)
  4. จากนั้นเลือก "ความครอบคลุม" (Coverage)
  5. ในหน้ารายงานความครอบคลุม ให้มองหาส่วนที่ระบุ "ไม่พบ URL ที่ส่ง (404)"
  6. คลิกที่ส่วนนี้เพื่อดูรายละเอียดของหน้าที่มีปัญหา 404
  7. คุณจะเห็นรายการของ URL ที่มีปัญหา 404 Not Found
  8. สามารถคลิกที่แต่ละ URL เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติมและวิธีการแก้ไขได้เลย

วิธีเช็ก 404 Not Found ใน Ubersuggest

  1. เข้าไปที่เว็บไซต์ Ubersuggest (https://neilpatel.com/ubersuggest/)
  2. ในช่องค้นหา ให้ใส่ URL ของเว็บไซต์ที่คุณต้องการตรวจสอบ
  3. คลิกปุ่ม "Search" หรือกดปุ่ม Enter
  4. รอให้ระบบวิเคราะห์เว็บไซต์สักครู่หนึ่ง
  5. เลื่อนลงมาที่ส่วนล่างของหน้าผลลัพธ์
  6. มองหาส่วนที่ระบุ "SEO Issues" หรือ "ปัญหา SEO"
  7. คลิกที่ "See All Issues" หรือ "ดูปัญหาทั้งหมด"
  8. ในรายการปัญหา ให้มองหาส่วนที่เกี่ยวข้องกับ "4XX Client Error"
  9. คลิกเพื่อดูรายละเอียดของหน้าที่มีปัญหา 404 Not Found
  10. คุณจะเห็นรายการของ URL ที่มีปัญหาพร้อมคำแนะนำในการแก้ไข

วิธีแก้ 404 Not Found ให้เว็บไซต์กลับมามีคุณภาพ

404 Not Found แก้ยังไง? วิธีแก้ Not Found สามารถทำได้หลายวิธีเช่นกัน ซึ่งจะขึ้นอยู่กับสาเหตุของปัญหาและลักษณะของหน้าที่พบ แต่หลัก ๆ แล้วจะมีอยู่ 2 วิธีคือการทำ Redirect และการปรับแต่งหน้าที่มีปัญหา 404 Not Found นั่นเอง

วิธีแก้ 404 Not Found ด้วยการ Redirect

การแก้ไขปัญหา 404 Not Found ด้วยการทำ Redirect เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพและได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะวิธีนี้จะพาผู้ชมไปยังหน้าเว็บไซต์ที่ถูกต้องแบบอัตโนมัติ โดยที่ไม่ต้องมาเจอกับหน้าเสียที่ขึ้นเตือนว่า “ ไม่พบข้อมูล” แต่อย่างใด รวมทั้งยังช่วยรักษาคุณภาพและผลลัพธ์ของการทำ SEO ไว้ได้ดังเดิมอีกด้วย ซึ่งการทำ Redirect ที่จะมักจะถูกนำมาแก้ไขปัญหา 404 Not Found  มีอยู่ 3 แบบ คือ

  1. 301 Redirect คือการเปลี่ยนเส้นทางหรือย้าย URL แบบถาวร ซึ่งมีการส่งพลังด้าน SEO ไปด้วย 
  2. 302 Redirect คือการย้าย URL ชั่วคราว (ระหว่างการปรับปรุงเว็บไซต์) ไม่มีการส่งพลัง SEO
  3. 410 Redirect คือการลบหน้านั้นออกอย่างถาวร ซึ่งจะเป็นการบอก Search Engine ว่าไม่ต้องทำดัชนีอีกต่อไป

วิธีแก้ 404 Not Found ด้วยปรับแต่งหน้าให้ดีกว่าเดิม

การปรับแต่งหน้าเว็บไซต์ที่มีปัญหาเรื่อง 404 Not Found ก็สามารถช่วยลดผลกระทบในเชิงลบของเว็บไซต์ได้ อาจจะเป็นการเพิ่มเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง, เพิ่มภาพหรือตกแต่งให้สวยงาม, เพิ่มลิงก์ที่ส่งต่อไปยังหน้าอื่น ๆ บนเว็บไซต์ ทั้งหน้าหลัก หน้าบริการ และหน้าบทความ หรือจะเป็นการเพิ่มฟีเจอร์แถบค้นหาข้อมูลบนเว็บไซต์ (Search Bar) ก็ย่อมได้

บทสรุป

จบไปแล้วกับบทความแนะนำวิธีแก้ 404 Not Found หวังว่าคุณจะรู้แล้วว่า 404 Not Found แก้ยังไงได้บ้าง งั้นเรามาทวนเรื่องนี้กันอีกสักนิดทิ้งทวนก่อนจะจากกันไปดีกว่า 404 Not Found คือปัญหาลิงก์เสียบนเว็บไซต์ ที่ส่งผลทำให้ผู้ใช้ได้รับประสบการณ์ที่ไม่ดีกลับไป ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยการทำ Redirect หรือการปรับปรุงหน้าที่มีปัญหาให้มีประสิทธิภาพพร้อมใช้งาน ทั้งนี้ คุณสามารถเช็กปัญหา 404 Not Found บนเว็บไซต์ของตัวเองด้วยการเข้าไปเช็กที่ Google Search Console หรือ Ubersuggest ตามที่เราได้แนะนำไปข้างต้นเลย!

Related News

รู้จัก Churn Rate คืออะไร ทำไมถึงกลายเป็นฝันร้ายของคนทำธุรกิจ

Churn Rate คือตัวชี้วัดการสูญเสียลูกค้าที่ส่งผลโดยตรงต่อกำไรธุรกิจ เรียนรู้สาเหตุและ 5 เทคนิคลด Churn Rate ที่พิสูจน์แล้วว่าได้ผลจริงในบทความนี้

แชร์ 5 เครื่องมือใช้เช็กอันดับเว็บไซต์ SEO ที่เอเจนซี่ใช้จริง

รวม 5 เครื่องมือเช็กอันดับเว็บที่เอเจนซี่รับทำ SEO ใช้จริง พร้อมวิธีใช้งานทีละขั้นตอน ทั้ง Google Search Console, SERanking, Ahrefs และอื่น ๆ

สอนวิธีเช็กอันดับเว็บไซต์ เช็กอันดับ SEO ด้วยตัวเอง

รวมวิธีสอนเช็กอันดับเว็บง่าย ๆ ด้วยตัวเอง เช็กอันดับ SEO ยังไงได้บ้าง เลือกมาให้แค่วิธีที่ง่ายและฟรี มือใหม่ทำได้ ไม่ต้องจ้างเอเจนซี่ อัปเดต 2025

รู้จัก Churn Rate คืออะไร ทำไมถึงกลายเป็นฝันร้ายของคนทำธุรกิจ

Churn Rate คือตัวชี้วัดการสูญเสียลูกค้าที่ส่งผลโดยตรงต่อกำไรธุรกิจ เรียนรู้สาเหตุและ 5 เทคนิคลด Churn Rate ที่พิสูจน์แล้วว่าได้ผลจริงในบทความนี้

แชร์ 5 เครื่องมือใช้เช็กอันดับเว็บไซต์ SEO ที่เอเจนซี่ใช้จริง

รวม 5 เครื่องมือเช็กอันดับเว็บที่เอเจนซี่รับทำ SEO ใช้จริง พร้อมวิธีใช้งานทีละขั้นตอน ทั้ง Google Search Console, SERanking, Ahrefs และอื่น ๆ

สอนวิธีเช็กอันดับเว็บไซต์ เช็กอันดับ SEO ด้วยตัวเอง

รวมวิธีสอนเช็กอันดับเว็บง่าย ๆ ด้วยตัวเอง เช็กอันดับ SEO ยังไงได้บ้าง เลือกมาให้แค่วิธีที่ง่ายและฟรี มือใหม่ทำได้ ไม่ต้องจ้างเอเจนซี่ อัปเดต 2025

logo

ติดต่อเรา

ANGA Mastery คือแพลตฟอร์มแห่งการเรียนรู้ด้านการตลาดในยุคดิจิตอล ที่ไม่ใช่แค่ทฤษฎี แต่เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงของเอเจนซีชั้นนำที่เคยลงมือทำจริง เรียนรู้เทคนิคที่ใช้ได้ผลจริง และนำไปปรับใช้กับธุรกิจของคุณได้ทันที เหมาะสำหรับ ผู้บริหารองค์กร เช่น CEO, MD, VP, ผู้บริหารระดับสูง นักการตลาดระดับสูง เช่น Marketing Manager และ เจ้าของธุรกิจ