30 OCTOBER 24
8.0k
เจ้าของเว็บไซต์หรือนักท่องเว็บไซต์ต่าง ๆ อาจจะเคยเจอกับปัญหาบนเว็บไซต์ได้ โดยเฉพาะกับ “500 Internal Server Error” หรือ “HTTP Error 500” ที่มักจะเกิดขึ้นกับเว็บไซต์ที่ใช้งาน WordPress ต้องบอกว่าปัญหานี้ค่อนข้างร้ายแรงและควรเร่งแก้ไขโดยด่วน เพราะนอกจากผู้ใช้งานจะเข้าสู่เว็บไซต์ได้ไม่สำเร็จแล้ว ยังทำให้คุณพลาดโอกาสทางธุรกิจได้อีกด้วย มาทำความรู้จัก HTTP Error 500 ให้มากขึ้น พร้อมดูว่าสาเหตุที่ทำให้เกิด 500 Internal Server Error คืออะไร และสามารถแก้ไขได้อย่างไรผ่านบทความนี้กับ ANGA Mastery กันดีกว่า
HTTP Error 500 หรือ 500 Internal Server Error คือปัญหาที่เกิดขึ้นภายในระบบของเซิร์ฟเวอร์ ทำให้เว็บไซต์ไม่สามารถตอบสนองต่อการเรียกดูได้ตามปกติ หรือที่เราเรียกว่า “เว็บล่ม” นั่นเอง โดยที่ระบบจะแสดงข้อความแจ้งเตือนเพื่อให้เจ้าของเว็บไซต์หรือผู้ดูแลระบบทราบถึงความผิดปกตินี้ หากอยู่บน WordPress ก็จะขึ้นข้อความ "เกิดข้อผิดพลาดร้ายแรงบนเว็บไซต์นี้"
HTTP Error 500 มีสาเหตุมาจากฝั่งเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้
เมื่อเกิดปัญหา HTTP Error 500 ขึ้น จะทำให้เว็บไซต์ไม่สามารถแสดงผลได้ตามปกติ เมื่อผู้ใช้พยายามเข้าถึงเว็บไซต์ที่มีปัญหานี้ ผู้ใช้จะเห็นหน้าแสดงข้อผิดพลาดแทนเนื้อหาที่ต้องการ ทำให้ส่งผลกระทบทั้งต่อผู้ใช้งานและเจ้าของเว็บไซต์ในหลาย ๆ ด้าน
ผู้ใช้งานเว็บไซต์หรือกลุ่มเป้าหมายของคุณ จะไม่สามารถเข้าถึงเนื้อหาหรือใช้งานฟังก์ชันต่าง ๆ บนเว็บไซต์ได้ตามปกติ ซึ่งส่งผลให้ประสบการณ์การใช้งานท่องเว็บของพวกเขาแย่ลงอย่างมาก ผู้ใช้อาจรู้สึกไม่พอใจและเลิกใช้งานเว็บไซต์ไปเลยก็ได้ นอกจากนี้ ถ้ามีปัญหานี้เกิดขึ้นบ่อย ๆ ด้วยล่ะก็ อาจส่งผลเสียต่อความน่าเชื่อถือและภาพลักษณ์ของแบรนด์ในสายตาของผู้ใช้ได้
ผลกระทบของปัญหา HTTP Error 500 ต่อเจ้าของเว็บไซต์จะรุนแรงกว่าผู้ใช้งาน โดยเฉพาะในด้านของรายได้ที่ควรจะได้ เห็นได้ชัดในเคสของเว็บไซต์ขายของออนไลน์ ที่มีการให้ข้อมูลและปิดการขายแบบจบในตัว และเว็บไซต์ที่มีการยิงโฆษณาหาคนเข้ามาบนเว็บไซต์ ซึ่งนอกจากรายได้แล้ว ยังสูญเสียโอกาสในการได้ลูกค้าอีกด้วย เพราะพวกเขาคงจะปิดหน้าเว็บไซต์ของคุณและไปเลือกใช้งานเว็บไซต์ของคู่แข่งได้ แม้สินค้าและราคาของคุณจะดีกว่าคู่แข่งยังไง แต่ถ้าเว็บไซต์เข้าถึงไม่ได้ ไม่มีข้อมูลที่ลูกค้าต้องการ ลูกค้าก็พร้อมไปมองหาที่ที่ดีกว่าและพร้อมให้บริการกว่าแน่นอน
การแก้ปัญหา HTTP Error 500 เบื้องต้นที่ผู้ใช้ทั่วไปสามารถทำได้ คือการรอสักครู่แล้วลองเข้าเว็บไซต์ใหม่อีกครั้ง เพราะบางทีปัญหาที่ทำให้เว็บล่มอาจจะมาจากการที่เซิร์ฟเวอร์ทำงานหนัก ซึ่งเป็นอาการที่เกิดขึ้นชั่วคราวเท่านั้น นอกจากนี้ การเคลียร์แคชและคุกกี้ของเบราว์เซอร์ ตรวจสอบการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต หรือลองใช้เบราว์เซอร์อื่น ๆ ก็อาจช่วยแก้ปัญหานี้ได้
ในส่วนของผู้ดูแลเว็บไซต์ การแก้ไขปัญหา 500 Internal Server Error จะซับซ้อนมากขึ้น เช่น การตรวจสอบไฟล์ .htaccess ปิดใช้งานปลั๊กอินหรือธีมที่อาจเป็นสาเหตุ (สำหรับ WordPress), ตรวจสอบ Log File ของเซิร์ฟเวอร์ หรือติดต่อผู้ให้บริการ Hosting เพื่อขอความช่วยเหลือ รวมถึงการตรวจสอบการตั้งค่า PHP และฐานข้อมูลก็เป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามเลย
ทั้งนี้ทั้งนั้น ก่อนแก้ไขปัญหาใด ๆ คุณจะต้องสำรองข้อมูลของเว็บไซต์ก่อน เพื่อป้องกันข้อมูลหายจากการแก้ปัญหาที่ผิดพลาด และควรปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญจะดีที่สุด โดยอาจจะใช้เครื่องมือต่าง ๆ อย่าง cPanel, FTP Client หรือ Debugger ในการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
สรุปได้ว่า HTTP Error 500 เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นภายในเซิร์ฟเวอร์ ทำให้เว็บไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ (เว็บล่ม) ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้งานได้รับประสบการณ์ที่ไม่ดีกลับไปและส่งผลกระทบต่อธุรกิจได้ (ประสิทธิภาพของ SEO แย่ลง และพลาดโอกาสในการปิดการขาย) ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิด 500 Internal Server Error มีอยู่หลายสาเหตุ รวมถึงวิธีการแก้ไขด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตามหากคุณพบว่าเว็บไซต์ของคุณล่มไม่เป็นท่า อาจจะลองรีเฟรชหน้าเว็บไซต์ดูก่อน หากยังไม่หายก็ปรึกษาผู้ให้บริการโฮสติ้งและแจ้งผู้เชี่ยวชาญด้านเว็บไซต์ให้มาแก้ไขโดยด่วน จะเป็นการดีที่สุด
พัฒนาสกิลที่ถูกต้องสำหรับผู้นำ
ด้านการตลาดออนไลน์
21 APRIL
เข้าใจ Inbound Marketing คือวิธีทำการตลาดที่เปลี่ยนจากการไล่หาลูกค้า มาเป็นการดึงดูดให้ลูกค้าเข้ามาหาเราเองอย่างธรรมชาติ เพื่อผลลัพธ์ที่ยั่งยืน
21 APRIL
21 APRIL
21 APRIL
21 APRIL
21 APRIL
ANGA Mastery คือแพลตฟอร์มแห่งการเรียนรู้ด้านการตลาดในยุคดิจิตอล ที่ไม่ใช่แค่ทฤษฎี แต่เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงของเอเจนซีชั้นนำที่เคยลงมือทำจริง เรียนรู้เทคนิคที่ใช้ได้ผลจริง และนำไปปรับใช้กับธุรกิจของคุณได้ทันที เหมาะสำหรับ ผู้บริหารองค์กร เช่น CEO, MD, VP, ผู้บริหารระดับสูง นักการตลาดระดับสูง เช่น Marketing Manager และ เจ้าของธุรกิจ