แชร์ 10 เทคนิคทำโฆษณาสินค้าโน้มน้าวใจ เร่งยอดขาย 2025

ANGA Mastery

31 OCTOBER 24

1.2k

no.17.webp

แชร์ 10 เทคนิคทำโฆษณาสินค้าโน้มน้าวใจ เร่งยอดขาย 2025

ธุรกิจจะอยู่รอดต่อไปในอนาคตได้หรือไม่ ยอดขายเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดที่สำคัญที่สุด เพราะถ้าคุณมียอดขายสูงพอ มันก็จะครอบคลุมในส่วนของเงินทุนที่เสียไปในตอนแรกและได้ทั้งกำไรที่จะต่อยอดธุรกิจต่อไป ซึ่งแบรนด์อย่างเรา ๆ ก็ต้องพยายามกระตุ้นความต้องการของผู้บริโภค ให้พวกเขารู้สึกว่าจำเป็นต้องมีสิ่งนี้ และตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการนั้นในท้ายที่สุด ผ่านการพูดโน้มน้าวใจโฆษณาสินค้าไปยังช่องทางต่าง ๆ อาทิ TikTok, Facebook หรือ Website ด้วยเหตุนี้การโฆษณาสินค้าโน้มน้าวใจ จึงไม่ได้มีหน้าที่เพียงกระตุ้นความต้องการแล้วจบไปเท่านั้น แต่เป็นการกระตุ้นให้เกิด Conversion ขึ้นจริง มาทำความเข้าใจเรื่องโฆษณาสินค้าโน้มน้าวใจ พร้อมดูตัวอย่างการโฆษณาสินค้าโน้มน้าวใจจากแบรนด์ต่าง ๆ กับ ANGA Mastery ได้ที่นี่เลย

 

โฆษณาสินค้าโน้มน้าวใจคืออะไร

โฆษณาสินค้าโน้มน้าวใจ คือการทำโฆษณาที่มุ่งเน้นให้ผู้บริโภครู้สึกอินไปกับ Message ที่แบรนด์สื่อออกไป โดยมีเป้าหมายให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้าหรือเข้ารับบริการเร็วขึ้นกว่าเดิม จากปกติที่ผู้บริโภคอาจจะมองเห็น

 

โฆษณาและเพียงแค่สนใจเฉย ๆ ยังไม่ได้ตัดสินใจซื้อใด ๆ แต่โฆษณาสินค้าโน้มน้าวใจจะกระตุ้นให้ผู้บริโภคเห็นและรู้สึกว่าอยากได้และควรจะซื้อตอนนี้เลย ด้วยเหตุนี้ การสร้างโฆษณาสินค้าโน้มน้าวใจจึงเป็นการผสานศาสตร์ระหว่างการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและเทคนิคทางจิตวิทยานั่นเอง

 

หลักการของโฆษณาสินค้าโน้มน้าวใจจะเป็นการพยายามสร้างความเชื่อมโยงทางอารมณ์ ระหว่างผู้บริโภคกับสินค้าหรือบริการ ด้วยการนำเสนอคุณค่าและประโยชน์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย โดยชี้ให้เห็นว่าสิ่งนั้นจะแก้ปัญหาให้พวกเขาได้อย่างไร พร้อมกับเรียกร้องให้เกิดการกระทำขึ้น

 

ตัวอย่างโฆษณาสินค้าโน้มน้าวใจจากแบรนด์ 3 ดัง

มาดูตัวอย่างโฆษณาสินค้าโน้มน้าวใจจาก 3 แบรนด์ดัง ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศกัน! 

1. ปูนตราเสือ

ปูนตราเสือมีการโฆษณาสินค้าโน้มน้าวใจด้วยการใช้ Ads Copy ว่า “ฉาบลื่นเบาแรง ขัดง่ายฝุ่นน้อย เรียบเนียนปิดรอยมิด” เพื่อดึงดูดใจกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างว่าปูนรุ่นนี้ ช่วยเบาแรงได้ ทำงานสะดวก ให้ผิวที่เรียบเนียน ไม่ว่าจะมีร่องรอยอะไรก็สามารถปิดได้มิดชิด ซึ่งถือว่าเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำงานในส่วนนี้มาก เพราะถ้าทำงานได้ง่าย งานก็จะเสร็จเร็ว และปิดงานได้เร็วขึ้น

2. ช้าง

ช้าง (Chang) ใช้แคมเปญ “เติมเต็มคำว่าเพื่อน” พร้อมดึงตัวนักแสดงชื่อดัง มาเป็นพรีเซนเตอร์ตัวแทนคนรุ่นใหม่โฆษณาสินค้าโน้มน้าวใจให้กับแคมเปญน้ำแร่ธรรมชาติ โดยต้องการสื่อถึงความเป็นเพื่อน ที่คอยซัปพอร์ตกันและกันในช่วงเวลาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นตอนที่สุขหรือตอนที่ทุกข์ ก็เหมือนกับน้ำดื่มที่เราขาดไม่ได้ 

3. Nike

Nike กับแคมเปญ "Just Do It" เป็นตัวอย่างที่โดดเด่นของโฆษณาสินค้าโน้มน้าวใจ ที่ใช้เรื่องราวของนักกีฬาที่ประสบความสำเร็จและคนธรรมดาที่พยายามเอาชนะอุปสรรค มาสร้างแรงบันดาลใจและกระตุ้นให้ผู้ชมรู้สึกว่าพวกเขาก็สามารถทำได้เช่นกัน โฆษณานี้เชื่อมโยงแบรนด์กับความมุ่งมั่นและความสำเร็จในชีวิต

 

10 เทคนิคทำโฆษณาสินค้าโน้มน้าวใจ 2025

1. ศึกษาทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย

ผลลัพธ์ของการทำโฆษณาสินค้าโน้มน้าวใจจะสำเร็จได้ ก็ต่อเมื่อคุณเข้าใจกลุ่มเป้าหมายที่คุณกำลังสื่อสารด้วย การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายอย่างละเอียด ทั้งในด้านของข้อมูลและพฤติกรรมการซื้อสินค้า ข้อดีของการศึกษาและวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายนี้ จะช่วยให้คุณสามารถออกแบบเนื้อหาได้อย่างตรงจุดและสามารถสร้างความเชื่อมโยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. ใช้อารมณ์ความรู้สึกเข้ามาเป็นตัวช่วย

รู้หรือไม่ว่าอารมณ์เป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญที่มนุษย์ใช้ในการตัดสินใจทำสิ่งต่าง ๆ หากคุณสามารถสร้างโฆษณาที่สามารถกระตุ้นความรู้สึกของผู้บริโภคได้ ก็จะช่วยเพิ่มโอกาสในการสร้างความประทับใจและทำให้ลูกค้าจดจำแบรนด์ได้ดียิ่งขึ้น โดยแนะนำให้เลือกใช้คำที่มีพลัง สื่อความหมายชัดเจน และมีความหมายไปในเชิงบวก

3. ถ่ายทอดเรื่องราวได้อย่างน่าสนใจ

การนำเสนอข้อมูลแบบทื่อ ๆ ไม่เพียงพอต่อการโน้มน้าวใจผู้บริโภคแต่อย่างใด เราต้องถ่ายทอดเรื่องราวให้น่าสนใจ ใช้ถ้อยคำที่มีศิลปะและชั้นเชิงเล็กน้อย อาจจะสร้างเรื่องราวที่สะท้อนคุณค่าของแบรนด์ หรือบอกเล่าเรื่องราวที่แสดงให้เห็นว่าสินค้าของคุณช่วยพวกเขาได้อย่างใด ซึ่งเทคนิคการถ่ายทอดเรื่องราว (Storytelling) นี้ เป็นอีกหนึ่งจุดสำคัญในการทำโฆษณาสินค้าโน้มน้าวใจ เพราะไม่เพียงแต่จะทำให้ผู้บริโภครู้สึกอินกับเรื่องราวเท่านั้น แต่ยังทำให้ผู้บริโภคจดจำแบรนด์ของคุณได้มากขึ้นด้วย

4. นำเสนอคุณค่าหรือประโยชน์ที่กลุ่มเป้าหมายจะได้รับ

สินค้าหรือบริการของคุณจะต้องซ้ำกับคู่แข่งอย่างแน่นอน ดังนั้น การนำเสนอสมบัติของสินค้าอาจไม่เพียงพออีกต่อไป ควรชี้ให้เห็นถึงคุณค่าและประโยชน์ที่จับต้องได้ จุดเด่นที่คุณอยู่เหนือและต่างกับคู่แข่งคืออะไร ซึ่งการนำเสนอโฆษณาในลักษณะนี้จะช่วยให้ผู้บริโภคเห็นภาพชัดเจนและเข้าใจว่าทำไมพวกเขาควรเลือกสินค้าของคุณ

5. เพิ่มความต้องการด้วยข้อเสนอสุดพิเศษ

การสร้างความรู้สึกเร่งด่วนและความต้องการ ด้วยข้อเสนอพิเศษหรือโปรโมชันเด็ด ๆ เป็นกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพในการกระตุ้นการตัดสินใจซื้อ ไม่ว่าจะเป็นการลดราคา การมอบส่วนลด การจำกัดเวลา หรือการจำกัดจำนวนก็ตาม แต่ข้อเสนอดังกล่าวจะต้องพิเศษจริง ๆ หรือหมายความว่าไม่ได้มีระยะเวลานานหรือมีความถี่มากเกินไป เพื่อให้มันดูพิเศษและสามารถโน้มน้าวในผู้บริโภคได้จริง ๆ 

 

6. กระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วม

การสร้างโฆษณาสินค้าโน้มน้าวใจที่ชวนให้ผู้ชมมีส่วนร่วมนั้น เป็นวิธีที่ดีในการสร้างความผูกพันกับแบรนด์ ลองออกแบบแคมเปญที่เปิดโอกาสให้ผู้บริโภคได้แสดงความคิดเห็น แบ่งปันประสบการณ์ หรือร่วมกิจกรรมสนุก ๆ ดู อาจจะมอบของรางวัลให้กับผู้โชคดีด้วยก็ได้ โดยการทำแบบนี้จะช่วยสร้าง Brand Awareness ได้ดี ทำให้คนมองเห็นเยอะ สร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ ไปสู่การตัดสินใจซื้อสินค้าในท้ายที่สุด

7. ออกแบบสื่อให้ดึงดูดความสนใจ

ทุกแบรนด์ ทุกธุรกิจต้องแข่งขันกันอย่างดุเดือด เพื่อดึงผู้บริโภคให้มาเป็นลูกค้า ทำให้ผู้บริโภคได้รับสื่อโฆษณาจำนวนมากในแต่ละวัน เพราะฉะนั้นการออกแบบสื่อโฆษณาสินค้าโน้มน้าวใจให้โดดเด่น จึงเป็นสิ่งที่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง อาทิ การใช้ภาพบุคคลหรือผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้น การใช้สีสันที่สะดุดตา หรือการจัดวางที่แปลกใหม่ ทั้งนี้ ไม่จำเป็นต้องออกแบบให้ทุกอย่างล้นเกินไป เพราะในบางครั้งความเรียบง่ายก็สามารถโน้มน้าวในผู้บริโภคได้เช่นกัน หลัก ๆ แล้วก็จะขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้าหรือบริการกับแคมเปญ

8. ทำ A/B Testing ทดสอบประสิทธิภาพของโฆษณา

การทำ A/B Testing คือการทดสอบประสิทธิภาพของโฆษณาว่าเวอร์ชันไหนมีประสิทธิภาพมากกว่ากัน โดยอาจจะเป็นการทำ Banner Ads สองเวอร์ชันที่มีการจัดองค์ประกอบหรือใช้สีสันที่แตกต่างกัน หรือจะเป็นสีของ Call To Action ที่ไม่เหมือนกัน หรืออาจจะแตกต่างกันที่ Copy Ads ก็ได้ เมื่อทดสองทั้งสองเวอร์ชันแล้ว คุณก็จะได้โฆษณาที่มีประสิทธิภาพเหมาะกับการนำไปยิงแอดระยะยาว

9. ทำโฆษณาบนหลาย ๆ แพลตฟอร์ม

การกระจายการโฆษณาสินค้าโน้มน้าวใจไปยังหลาย ๆ แพลตฟอร์ม เป็นกลยุทธ์ที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้กว้างขึ้น โดยในแต่ละแพลตฟอร์มมีจุดแข็งและกลุ่มผู้ใช้ที่แตกต่างกัน จึงแนะนำให้ปรับรูปแบบของโฆษณาให้เหมาะสมกับแต่ละแพลตฟอร์มมากที่สุด เช่น Facebook Ads อาจจะใช้เป็นภาพ ส่วน TikTok Ads อาจจะใช้เป็นวิดีโอสั้น ๆ เป็นต้น

10. ติดตามวัดผลและปรับปรุงประสิทธิภาพ

การโฆษณาที่มีประสิทธิภาพไม่ใช่การทำครั้งเดียวแล้วจบ แต่เป็นกระบวนการต่อเนื่องที่ต้องมีการวิเคราะห์ ปรับปรุง และพัฒนาอยู่เสมอ โดยการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ต่าง ๆ เพื่อติดตามผลและวัดประสิทธิภาพแคมเปญ ทั้งในส่วนของ Conversion Rate, Click Through Rate และ Engagement จากนั้นให้นำข้อมูลเชิงลึกที่ได้มาปรับแต่งแคมเปญให้ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายมากขึ้น ทีนี้ก็จะช่วยเพิ่มโอกาสให้แคมเปญที่คุณรันในครั้งถัดไป ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นกว่าเดิมแล้ว

 

[ บทสรุป ]

การสร้างโฆษณาสินค้าโน้มน้าวใจที่มีประสิทธิภาพเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่ต้องอาศัยความเข้าใจในพฤติกรรมผู้บริโภค ทักษะการสื่อสาร และความคิดสร้างสรรค์ ANGA Mastery เชื่อว่าถ้าคุณนำ 10 เทคนิคการสร้างโฆษณาสินค้าโน้มน้าวในที่เราแนะนำไปปรับใช้ จะช่วยให้คุณสร้างโฆษณาที่ไม่เพียงแต่ดึงดูดความสนใจ แต่ยังสามารถกระตุ้นการซื้อและเพิ่มยอดขายได้อย่างมีประสิทธิภาพในปี 2025 แน่นอน!

Related News

รู้จัก Churn Rate คืออะไร ทำไมถึงกลายเป็นฝันร้ายของคนทำธุรกิจ

Churn Rate คือตัวชี้วัดการสูญเสียลูกค้าที่ส่งผลโดยตรงต่อกำไรธุรกิจ เรียนรู้สาเหตุและ 5 เทคนิคลด Churn Rate ที่พิสูจน์แล้วว่าได้ผลจริงในบทความนี้

แชร์ 5 เครื่องมือใช้เช็กอันดับเว็บไซต์ SEO ที่เอเจนซี่ใช้จริง

รวม 5 เครื่องมือเช็กอันดับเว็บที่เอเจนซี่รับทำ SEO ใช้จริง พร้อมวิธีใช้งานทีละขั้นตอน ทั้ง Google Search Console, SERanking, Ahrefs และอื่น ๆ

สอนวิธีเช็กอันดับเว็บไซต์ เช็กอันดับ SEO ด้วยตัวเอง

รวมวิธีสอนเช็กอันดับเว็บง่าย ๆ ด้วยตัวเอง เช็กอันดับ SEO ยังไงได้บ้าง เลือกมาให้แค่วิธีที่ง่ายและฟรี มือใหม่ทำได้ ไม่ต้องจ้างเอเจนซี่ อัปเดต 2025

รู้จัก Churn Rate คืออะไร ทำไมถึงกลายเป็นฝันร้ายของคนทำธุรกิจ

Churn Rate คือตัวชี้วัดการสูญเสียลูกค้าที่ส่งผลโดยตรงต่อกำไรธุรกิจ เรียนรู้สาเหตุและ 5 เทคนิคลด Churn Rate ที่พิสูจน์แล้วว่าได้ผลจริงในบทความนี้

แชร์ 5 เครื่องมือใช้เช็กอันดับเว็บไซต์ SEO ที่เอเจนซี่ใช้จริง

รวม 5 เครื่องมือเช็กอันดับเว็บที่เอเจนซี่รับทำ SEO ใช้จริง พร้อมวิธีใช้งานทีละขั้นตอน ทั้ง Google Search Console, SERanking, Ahrefs และอื่น ๆ

สอนวิธีเช็กอันดับเว็บไซต์ เช็กอันดับ SEO ด้วยตัวเอง

รวมวิธีสอนเช็กอันดับเว็บง่าย ๆ ด้วยตัวเอง เช็กอันดับ SEO ยังไงได้บ้าง เลือกมาให้แค่วิธีที่ง่ายและฟรี มือใหม่ทำได้ ไม่ต้องจ้างเอเจนซี่ อัปเดต 2025

logo

ติดต่อเรา

ANGA Mastery คือแพลตฟอร์มแห่งการเรียนรู้ด้านการตลาดในยุคดิจิตอล ที่ไม่ใช่แค่ทฤษฎี แต่เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงของเอเจนซีชั้นนำที่เคยลงมือทำจริง เรียนรู้เทคนิคที่ใช้ได้ผลจริง และนำไปปรับใช้กับธุรกิจของคุณได้ทันที เหมาะสำหรับ ผู้บริหารองค์กร เช่น CEO, MD, VP, ผู้บริหารระดับสูง นักการตลาดระดับสูง เช่น Marketing Manager และ เจ้าของธุรกิจ