13 MARCH 25
181
สังเกตไหมว่าทำไมรูปภาพของบางเว็บไซต์ โดยเฉพาะเว็บไซต์ของบริษัทรับทำ SEO มักจะแสดงผลอย่างรวดเร็วหรือโหลดเสร็จทันทีที่เรากดเข้าไป เพราะพวกเขาไม่ได้ใช้ไฟล์รูปภาพทั่ว ๆ ไปอย่าง JPG หรือ PNG แต่เป็นการใช้ไฟล์ WebP นั่นเอง WebP ไม่ได้ส่งผลต่อความเร็วในการโหลดรูปภาพเท่านั้น ยังส่งผลต่อประสิทธิภาพและการแสดงผลของเว็บไซต์โดยรวมด้วย แน่นอนว่าเป็นผลดีต่อการทำ SEO เช่นกัน สำหรับนักการตลาดหรือเจ้าของธุรกิจท่านใด ที่ไปเรียน SEO มาและเห็นคำว่า WebP ผ่านหูผ่านตามา แล้วเกิดสงสัยว่าไฟล์ WebP คืออะไร มีข้อดียังไง มันส่งผลต่อ SEO ได้จริงเหรอ? ANGA Mastery จะพาคุณมาคลายข้อสงสัยและไปทำความรู้จักกับไฟล์ WebP ให้มากขึ้นผ่านบทความนี้
ไฟล์ WebP คือไฟล์รูปภาพที่ถูกบีบอัดไฟล์ให้มีขนาดเล็กลง โดยยังคงรักษาคุณภาพของรูปภาพไว้ได้อย่างดีเยี่ยม เหมาะสำหรับการใช้งานบนเว็บไซต์ที่ต้องการความเร็วในการโหลดหน้าเว็บหรือเว็บไซต์ที่มีการทำ SEO ซึ่งผู้พัฒนาไฟล์ WebP คือ Google เพื่อแก้ปัญหาขนาดไฟล์ภาพที่ใหญ่เกินไปและตอบสนองพฤติกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ตของผู้ใช้ ตั้งแต่ปี 2010
จุดเด่นของไฟล์ WebP คือขนาดไฟล์ที่เล็กกว่าไฟล์ภาพมาตรฐานอื่น ๆ เช่น เล็กกว่าไฟล์ JPEG ประมาณ 25-34% และเล็กกว่าไฟล์ PNG ถึง 26% โดยในปัจจุบัน WebP ได้รับการรองรับจากเบราว์เซอร์หลักเกือบทั้งหมดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แถมยังรองรับการแสดงผลแบบพื้นหลังโปร่งใสเหมือนกับไฟล์ PNG ด้วย แต่ใช้พื้นที่น้อยกว่ามาก
การใช้ไฟล์ WebP บนเว็บไซต์ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ ทั้งในแง่ของความเร็ว พื้นที่จัดเก็บข้อมูล และประสบการณ์ผู้ใช้ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลโดยตรงต่อเว็บไซต์ในระยะยาว โดยเฉพาะเมื่อมีการทำ SEO ร่วมด้วย
ไฟล์ WebP ช่วยให้เว็บไซต์โหลดได้เร็วกว่าเดิมมาก เพราะขนาดไฟล์เล็กลงแต่รูปยังคงสวยคมชัดเหมือนเดิม ทำให้คนที่เข้ามาใช้งานเว็บไซต์ไม่ต้องรอนาน และมีโอกาสกลับมาใช้งานซ้ำอีกในอนาคต
Google ให้ความสำคัญกับความเร็วของเว็บไซต์มากในการจัดอันดับผลการค้นหา การใช้ไฟล์ WebP จะช่วยปรับปรุงค่า LCP (Largest Contentful Paint) ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ Google ใช้วัดประสิทธิภาพเว็บไซต์ ทำให้เว็บไซต์เราทำ SEO ติดหน้าแรกง่ายขึ้น
ไฟล์ WebP ทำได้หลายอย่าง ทั้งบีบอัดภาพแบบมีการสูญเสียคุณภาพบ้าง (Lossy) หรือไม่สูญเสียคุณภาพเลย (Lossless) ทำพื้นหลังโปร่งใสได้เหมือน PNG และสร้างภาพเคลื่อนไหวได้เหมือน GIF ทำให้ใช้งานบนเว็บไซต์ได้แทบทุกกรณี
ด้วยความที่ไฟล์ WebP เล็กกว่าไฟล์ภาพแบบอื่น ๆ มาก ทำให้ใช้พื้นที่เก็บข้อมูลบนเซิร์ฟเวอร์น้อยลง ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการเช่าพื้นที่โฮสติ้ง โดยเฉพาะเว็บไซต์ที่ต้องใช้รูปภาพเยอะ ๆ
ปัจจุบัน WebP ใช้งานได้กับเบราว์เซอร์ยอดนิยมเกือบทั้งหมดแล้ว ไม่ว่าจะเป็น Google Chrome, Safari, Firefox, Edge และ Opera ไม่ต้องกังวลว่าคนเข้าเว็บด้วยเบราว์เซอร์ไหนจะมองไม่เห็นรูปของเรา
เห็นข้อดีของไฟล์ WebP กันไปแล้ว ถึงมันจะตอบโจทย์กับการทำ SEO เว็บไซต์มากแค่ไหน แต่ด้วยความที่มันเกิดการแปลงไฟล์จากสกุลอื่น ๆ มา มันย่อมมีข้อเสียและข้อจำกัดอยู่แล้ว เรามาดูข้อจำกัดของไฟล์ WebP กันว่ามีอะไรบ้าง
เพราะ WebP เป็นไฟล์ที่ถูกบีบอัด จึงมีการสูญเสียคุณภาพบางส่วนไป ถึงแม้จะไม่สังเกตเห็นความแตกต่างด้วยตาเปล่า แต่สำหรับนักออกแบบกราฟิกหรือผู้ที่ต้องการภาพที่มีความคมชัดสูงสุด WebP จึงไม่ตอบโจทย์การใช้งาน
แม้ว่าปัจจุบัน WebP จะใช้งานได้กับเบราว์เซอร์ส่วนใหญ่แล้ว แต่เบราว์เซอร์รุ่นเก่าอย่าง Internet Explorer ยังมีปัญหาในการแสดงผลไฟล์ WebP อยู่ ทำให้บางครั้งเราต้องเตรียมไฟล์ภาพทั้ง WebP และ JPEG/PNG ไว้คู่กัน ซึ่งเป็นการเพิ่มภาระในการจัดการไฟล์
เมื่อดาวน์โหลดไฟล์ WebP มาไว้ในเครื่อง บางโปรแกรมดูรูปภาพพื้นฐานอาจไม่สามารถเปิดไฟล์ WebP ได้ ผู้ใช้อาจจำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติมหรือต้องแปลงไฟล์เป็นสกุลอื่นก่อนใช้งาน
หลังจากบีบอัดภาพเป็นไฟล์ WebP แล้ว การนำกลับไปแก้ไขจะทำได้ยากกว่าและอาจสูญเสียคุณภาพเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเมื่อมีการบันทึกไฟล์ภาพซ้ำหลาย ๆ ครั้ง
โปรแกรมตัดต่อภาพบางตัวยังไม่รองรับการทำงานกับไฟล์ WebP ได้โดยตรง ทำให้ต้องแปลงไฟล์ก่อนนำไปแก้ไขหรือต้องติดตั้งปลั๊กอินเพิ่มเติม
ไฟล์ WebP คือไฟล์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานบนเว็บไซต์เป็นหลัก จึงไม่เหมาะกับงานพิมพ์หรือการใช้งานออฟไลน์ที่ต้องการความละเอียดสูง เช่น การพิมพ์โปสเตอร์ ป้ายโฆษณา หรือนามบัตร
ไฟล์ WebP แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทตามลักษณะการบีบอัดข้อมูล ดังนี้
WebP Lossless เป็นการบีบอัดแบบที่เก็บข้อมูลภาพไว้ครบถ้วน ไม่มีการตัดทิ้ง ทำให้ภาพที่ได้มีคุณภาพคมชัดสูง เทียบเท่าต้นฉบับ ไฟล์ประเภทนี้สามารถทำพื้นหลังโปร่งใสได้เหมือนไฟล์ PNG มีขนาดใหญ่กว่า WebP แบบ Lossy ประมาณ 22% แต่ก็ยังเล็กกว่าไฟล์ PNG แบบเดียวกันถึง 3 เท่า เหมาะกับงานที่ต้องการความคมชัดสูงและพื้นหลังโปร่งใส เช่น โลโก้ หรือภาพกราฟิก
WebP Lossy เป็นการบีบอัดแบบที่ยอมสละรายละเอียดบางส่วนของภาพทิ้งไป ทำให้ไฟล์มีขนาดเล็กลงมาก โดยทั่วไปจะบันทึกแบบ RGB เหมาะสำหรับภาพถ่าย ภาพประกอบทั่วไปที่ไม่ต้องการความคมชัดสูงมาก หรือไม่ต้องมีพื้นหลังโปร่งใส ไฟล์ WebP แบบ Lossy จะมีขนาดเล็กกว่าไฟล์ JPEG ประมาณ 25-34% ทำให้เว็บไซต์โหลดได้เร็วขึ้น
นอกจากการแปลงไฟล์ภาพสกุลอื่น ๆ เช่น JPEG, PNG หรือ GIF ให้เป็น WebP ด้วยโปรแกรมทำกราฟิกอย่าง Photoshop, GIMP หรือปลั๊กอิน WordPress อย่าง Smush และ ShortPixel แล้ว วิธีที่ง่ายและสะดวกกว่าคือการใช้เว็บไซต์ออนไลน์ที่ให้บริการฟรี ไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมเพิ่ม ทำได้บนทุกอุปกรณ์ และใช้งานได้ทันที
สรุปว่าไฟล์ WebP คือไฟล์ภาพที่ถูกบีบอัดมาเพื่อให้มีขนาดเล็ก แต่ยังคงคุณภาพเดิม เพื่อให้ตอบโจทย์กับการใช้งานบนเว็บไซต์ที่ต้องการประหยัดพื้นที่การจัดเก็บข้อมูลและเน้นการโหลดข้อมูลอย่างรวดเร็ว ทำให้ไฟล์ WebP ส่งผลต่อผลลัพธ์ของการทำ SEO ให้เว็บไซต์ติดอันดับบน Google ในด้านที่ดีด้วย สำหรับวิธีแปลงไฟล์ภาพให้เป็น WebP นั้นก็ทำได้ไม่ยาก สามารถใช้เครื่องมือออนไลน์บนเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่เราได้แนะนำไปได้เลย หรือถ้าใครถนัดแปลงไฟล์ผ่านโปรแกรมทำกราฟิกอย่าง Photoshop ก็สามารถทำได้เช่นกัน
ANGA Mastery แพลตฟอร์มแห่งการเรียนรู้ด้านการตลาดออนไลน์ โดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เปิดสอนคอร์สการตลาด (Marketing) หลากหลายด้าน อาทิ คอร์สเรียน SEO Strategy, คอร์สเรียน SEO, คอร์สสอน Google Analytics 4, คอร์สเรียน Google Ads และคอร์สสอน Facebook Ads เป็นต้น สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ LINE OA
พัฒนาสกิลที่ถูกต้องสำหรับผู้นำ
ด้านการตลาดออนไลน์
13 MARCH
ทำความเข้าใจ Media Plan คืออะไร กลยุทธ์วางแผนสื่อที่ช่วยให้ธุรกิจสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงกลุ่มและมีประสิทธิภาพสูง จนธุรกิจเติบโต
13 MARCH
13 MARCH
13 MARCH
13 MARCH
13 MARCH
ANGA Mastery คือแพลตฟอร์มแห่งการเรียนรู้ด้านการตลาดในยุคดิจิตอล ที่ไม่ใช่แค่ทฤษฎี แต่เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงของเอเจนซีชั้นนำที่เคยลงมือทำจริง เรียนรู้เทคนิคที่ใช้ได้ผลจริง และนำไปปรับใช้กับธุรกิจของคุณได้ทันที เหมาะสำหรับ ผู้บริหารองค์กร เช่น CEO, MD, VP, ผู้บริหารระดับสูง นักการตลาดระดับสูง เช่น Marketing Manager และ เจ้าของธุรกิจ