แจกวิธียิงแอดผ่าน Facebook Ads - Google Ads

By Sutamma Luahavorravuttikun I Ex-Head of Performance Marketing at ANGA

30 OCTOBER 24

53

แจกวิธียิงแอด (Ads) สำหรับมือใหม่ ให้ยอดขายเข้ามารัว ๆ 2025 (2).webp

แจกวิธียิงแอดผ่าน Facebook Ads - Google Ads

ถ้าถามถึงวิธีทำการตลาดของธุรกิจทั้งหลายที่อยู่บนโลกออนไลน์ คนส่วนใหญ่ก็คงจะตอบว่า “ยิงแอด” แน่นอน เพราะการยิงแอดมันให้ผลลัพธ์ที่รวดเร็วและยังวัดประสิทธิภาพได้อย่างชัดเจนด้วย แต่ถ้าคุณเริ่มลงมือยิงแอดเมื่อไหร่ นั่นหมายความว่าคุณจะต้องพร้อมเสียค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ด้วย ด้วยเหตุนี้ ใคร ๆ ก็ต้องการผลลัพธ์ที่ดี โดยเฉพาะกับยอดขายที่สูงมากพอที่จะครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการยิง Ads สำหรับพ่อค้าแม่ค้าหรือเจ้าของธุรกิจคนไหน อยากเรียนรู้วิธียิงแอดด้วยตัวเอง ยังไม่พร้อมที่จะจ้างเอเจนซี่หรือคนอื่นให้มายิงแอดให้ ลองมาทำความเข้าใจเรื่องการยิงแอดให้มากขึ้น และเรียนรู้วิธียิงแอดผ่าน Facebook Ads และ Google Ads ได้ในบทความนี้เลย

การยิงแอดคืออะไร?

การยิงแอด หรือ Advertising คือกลยุทธ์ทางการตลาดออนไลน์ที่ธุรกิจต่าง ๆ ใช้ในการโปรโมตสินค้าให้เป็นที่รู้จักและเพิ่มยอดขายให้กับธุรกิจ ด้วยการนำเสนอเนื้อหา (Content) ที่อยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ผ่านการจ่ายเงินให้แก่แพลตฟอร์มโฆษณา เพื่อให้แพลตฟอร์มเหล่านั้นนำเนื้อหาของเราไปปรากฏอยู่ในสายตาของกลุ่มเป้าหมาย เมื่อกลุ่มเป้าหมายเข้าไปใช้งานแพลตฟอร์มดังกล่าว

ซึ่งแพลตฟอร์มที่สามารถยิงแอดได้มีอยู่เยอะมาก ๆ ทั้ง Facebook, Instagram, X (Twitter), TikTok, LinkedIn, Pinterast และ Google เป็นต้น แต่ถ้าพูดถึงแพลตฟอร์มที่คนไทยนิยมใช้และเหมาะแก่การยิงแอดในขณะนี้ ก็คงไม่พ้น Facebook Ads กับ Google Ads อย่างแน่นอน เพราะทั้งสองแพลตฟอร์มนี้เป็นแพลตฟอร์มที่คนไทยนิยมใช้งานกันเป็นประจำทุกวันนั่นเอง

ประโยชน์ของการยิง Ads คืออะไร

ในยุคนี้ทุกธุรกิจล้วนหันมาแข่งขันกันบนโลกออนไลน์เป็นช่องทางหลัก เพราะเหตุนี้ การโพสต์โปรโมตสินค้าผ่านช่องทาง Organic จึงไม่เพียงพออีกต่อไป โดยเฉพาะกับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้นเปิดตัวมาไม่นาน การยิง Ads เพื่อให้ตัวสินค้าและแบรนด์เป็นที่รู้จักในวงกว้างจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ และยิ่งกลุ่มเป้าหมายมองเห็นโฆษณาของคุณมากแค่ไหน โอกาสที่พวกเขาจะเปลี่ยนสถานะมาเป็นลูกค้าก็ยิ่งสูงมากขึ้นเท่านั้น และนี่คือประโยชน์ของการยิง Ads ที่แบรนด์และเจ้าของธุรกิจควรรู้

สร้างการรับรู้แบรนด์ได้อย่างรวดเร็ว

การยิงแอดช่วยให้แบรนด์เป็นที่รู้จักในวงกว้างในเวลาอันสั้น โดยเฉพาะแบรนด์ใหม่ที่ต้องการแนะนำตัวหรือสร้างการจดจำ การยิงแอดจะช่วยให้กลุ่มเป้าหมายเห็นแบรนด์ซ้ำ ๆ จนเกิดความคุ้นเคยและจดจำได้

เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้แม่นยำ

คุณสามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายได้อย่างละเอียด ทั้งอายุ เพศ ความสนใจ และพฤติกรรมการใช้งาน ทำให้งบประมาณที่ใช้ในการโฆษณาคุ้มค่าและตรงกับกลุ่มที่มีโอกาสซื้อสินค้าจริง

ควบคุมงบประมาณได้ตามต้องการ

คุณสามารถกำหนดงบประมาณในการยิงแอดได้เอง ตั้งแต่งบน้อยไปจนถึงงบสูง พร้อมทั้งสามารถปรับเพิ่มหรือลดได้ตลอดเวลา ทำให้สามารถจัดการค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เพิ่มยอดขายได้รวดเร็ว

เมื่อยิงแอดไปยังกลุ่มเป้าหมายที่ถูกต้อง โอกาสในการปิดการขายจะสูงขึ้น เพราะคนที่เห็นโฆษณาคือคนที่มีความสนใจในสินค้าหรือบริการของคุณจริง ๆ 

สร้างความน่าเชื่อถือให้แบรนด์

การยิงโฆษณาไม่ได้จำกัดอยู่ที่การขายสินค้าเพียงอย่างเดียว แต่ยังช่วยนำเสนอคอนเทนต์ที่สร้างความน่าเชื่อถือ เช่น รีวิวจากลูกค้าจริง บทความให้ความรู้ หรือข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อกลุ่มเป้าหมายได้อีกด้วย

เข้าใจพฤติกรรมของลูกค้ามากขึ้น

ข้อมูลจากการยิงแอดจะช่วยให้คุณเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้าได้ดีขึ้น ทั้งช่วงเวลาที่ใช้งาน ความสนใจ และการตอบสนองต่อโฆษณารูปแบบต่าง ๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการวางแผนการตลาดครั้งต่อไป

วัดผลและปรับปรุงแคมเปญได้ทันที

การยิงแอดมาพร้อมระบบรายงานผลที่ละเอียด ทำให้คุณเห็นผลตอบรับแบบเรียลไทม์ จึงสามารถวิเคราะห์และปรับแต่งแคมเปญได้ทันทีเพื่อผลลัพธ์ที่ดีขึ้น

สอนวิธียิงแอด Facebook Ads

Facebook Ads คือการทำโฆษณาผ่านช่องทาง Facebook เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ใช้งาน Facebook หรือแพลตฟอร์มในเครือข่ายอย่าง Instagram โดยผู้ลงโฆษณาสามารถสร้างและจัดการแคมเปญได้ด้วยตนเองได้เลย เพราะระบบไม่ได้ยุ่งยากซับซ้อนเท่าไหร่นัก อีกทั้งยังสามารถควบคุมงบประมาณและติดตามผลลัพธ์ได้แบบเรียลไทม์ด้วย สำหรับวิธียิงแอด Facebook Ads ฉบับพื้นฐาน มีดังนี้

1. เตรียมความพร้อมก่อนยิงโฆษณา

  • สร้างเพจ Facebook Business ให้เรียบร้อย
  • เตรียมบัตรเครดิต/เดบิตสำหรับชำระค่าโฆษณา
  • เตรียมรูปภาพ/วิดีโอที่จะใช้ในการยิงแอด
  • กำหนดงบประมาณในการยิงแอดในแต่ละแคมเปญให้ชัดเจน

2. การตั้งค่า Business Manager

  • เข้าไปที่ business.facebook.com
  • สร้างบัญชีผู้โฆษณา (Ad Account)
  • เชื่อมต่อเพจกับ Business Manager
  • ตั้งค่าวิธีการชำระเงิน

3. วางแผนสร้างแคมเปญโฆษณา

  • กำหนดวัตถุประสงค์ของแคมเปญ เช่น ต้องการยอดไลก์ ยอดขาย หรือสร้างการรับรู้แบรนด์
  • ระบุกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการให้โฆษณาเข้าถึง
  • กำหนดงบประมาณต่อวันหรืองบประมาณตลอดทั้งแคมเปญ
  • เลือกระยะเวลาในการยิงแอดที่ต้องการ เช่น 1 สัปดาห์, 1 เดือน หรือ 3 เดือน เป็นต้น

4. สร้างแคมเปญโฆษณา

  • เข้าไปที่ Ads Manager
  • เลือก "สร้างแคมเปญ"
  • เลือกวัตถุประสงค์โฆษณา
  • ตั้งชื่อแคมเปญให้จำง่าย

5. กำหนดกลุ่มเป้าหมาย

  • เลือกพื้นที่ที่ต้องการยิงโฆษณา (เขต จังหวัด หรือประเทศ เป็นต้น)
  • ระบุอายุและเพศของกลุ่มเป้าหมาย
  • เลือกความสนใจและพฤติกรรมที่เกี่ยวข้อง
  • ปรับแต่งการเจาะจงกลุ่มให้แคบหรือกว้างตามต้องการ

6. สร้างชุดโฆษณา

  • อัปโหลดรูปภาพหรือวิดีโอที่ใช้ในการยิงโฆษณา
  • เขียนข้อความโฆษณาที่น่าสนใจ
  • ใส่ลิงก์ปลายทางให้ถูกต้อง
  • เลือกตำแหน่งที่แสดงโฆษณา เช่น News Feed หรือ Stories

7. ตั้งค่างบประมาณและระยะเวลา

  • กำหนดงบประมาณต่อวัน (ถ้าเพิ่งเริ่มต้นยิงแอด ควรใช้งบน้อย ๆ ก่อน)
  • เลือกวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดแคมเปญ
  • เลือกการเพิ่มประสิทธิภาพงบประมาณตามต้องการ
  • ตรวจสอบตัวอย่างโฆษณาบนทุกตำแหน่งที่เลือก
  • กดยืนยันและเริ่มยิงโฆษณา

8. ติดตามผล ปรับแต่ง และวิเคราะห์สรุปผล

  • ตรวจสอบตัวชี้วัดสำคัญ เช่น การเข้าถึง การมีส่วนร่วม
  • ปรับแต่งงบประมาณหรือกลุ่มเป้าหมายตามผลตอบรับ
  • หยุดโฆษณาที่ไม่ได้ผล และเพิ่มงบให้โฆษณาที่มีผลลัพธ์ดี
  • บันทึกข้อมูลด้านผลลัพธ์ของการยิงโฆษณา
  • วิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนของแคมเปญ
  • นำข้อมูลไปปรับปรุงการยิงโฆษณาครั้งต่อไป

สอนวิธียิงแอด Google Ads

Google Ads คือเครื่องมือโฆษณาจาก Google ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการค้นหาข้อมูล (Search Engine) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยจะเป็นการแสดงโฆษณาบนหน้าแสดงผลการค้นหา (SERPs) เมื่อกลุ่มเป้าหมายทำการค้นหาข้อมูลด้วยคีย์เวิร์ดที่ผู้ยิงแอดระบุไว้ ซึ่งลักษณะของโฆษณาที่แสดงก็จะค่อนข้างเนียนและกลืนไปกับเนื้อหา Organic (การทำ SEO) เลย เนื่องจากเป็นการนำเสนอเว็บไซต์เช่นกัน แต่ก็จะแตกต่างกับ Organic ตรงที่เนื้อหาที่ยิงแอดจะมีข้อความกำกับว่า “Sponsored” หรือ “ได้รับการสนับสนุน”

1. สร้างบัญชี Google Ads

  • เข้าไปที่ ads.google.com เข้าสู่ระบบด้วย Gmail
  • คลิกปุ่ม "เริ่มต้นใช้งาน" หรือ "Start now"
  • เลือกเป้าหมายทางธุรกิจ กรอกชื่อธุรกิจและเว็บไซต์ และระบุตำแหน่งที่ตั้งของธุรกิจ
  • ตั้งค่าแคมเปญเริ่มต้น (เลือกเครือข่ายการโฆษณา พื้นที่ที่ต้องการยิงแอด ระบุหมวดหมู่ของสินค้าหรือบริการ และตั้งค่างบประมาณ)
  • ใส่ข้อมูลการชำระเงิน (ผูกบัตรเครดิต/เดบิต และตั้งค่าข้อมูลเกี่ยวกับการเงิน)
  • ยืนยันตัวตนและกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงบัญชี

2. วางแผนการยิงโฆษณา

  • กำหนดเป้าหมายของแคมเปญโฆษณา
  • ทำ Keyword Research หาคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับสินค้า/บริการ
  • วิเคราะห์คู่แข่งและราคาประมูลคีย์เวิร์ดในตลาด
  • เตรียมคอนเทนต์ที่น่าสนใจสำหรับยิงโฆษณา

3. ตั้งค่าแคมเปญโฆษณา

  • เลือกประเภทแคมเปญตามวัตถุประสงค์
  • กำหนดพื้นที่เป้าหมายในการแสดงโฆษณา
  • ตั้งค่าภาษาที่ต้องการให้โฆษณาแสดงผล
  • กำหนดงบประมาณรายวันหรือตลอดแคมเปญ

4. สร้างกลุ่มโฆษณา

  • จัดกลุ่มคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกัน
  • กำหนดราคาประมูลสูงสุดต่อคลิก
  • เลือกตำแหน่งการแสดงผลโฆษณา
  • ระบุกลุ่มเป้าหมายตามข้อมูลประชากรศาสตร์

5. เขียนเนื้อหาหรือข้อความโฆษณา

  • สร้างหัวข้อของโฆษณาที่ดึงดูดความสนใจ
  • เขียนรายละเอียดที่ตรงประเด็นและน่าสนใจ
  • ใส่คำกระตุ้นการตัดสินใจ (Call to Action)
  • ตรวจสอบการสะกดและความถูกต้องของข้อมูล

6. ปรับแต่งการตั้งค่าขั้นสูง

  • กำหนดตารางเวลาแสดงโฆษณา
  • ตั้งค่าอุปกรณ์ที่ต้องการให้แสดงโฆษณา
  • ปรับแต่งการประมูลตามช่วงเวลาหรือตำแหน่ง
  • เพิ่มคำที่ไม่ต้องการให้แสดงโฆษณา

7. ติดตั้ง Conversion Tracking

  • ติดตั้งโค้ด Conversion Tracking บนเว็บไซต์
  • ตั้งค่าเป้าหมายหรือการกระทำ (ระบบว่า Conversion จะถูกนับก็ต่อเมื่อผู้ใช้งานกระทำการอะไร)
  • เชื่อมต่อกับ Google Analytics
  • ตรวจสอบการทำงานของระบบ Conversion Tracking

8. เริ่มแคมเปญ ติดตามผล และปรับปรุงประสิทธิภาพ

  • เปิดใช้งานแคมเปญโฆษณา
  • ติดตามและตรวจสอบผลลัพธ์ทุกวัน
  • ปรับเพิ่ม/ลดงบประมาณตามประสิทธิภาพ

9. วิเคราะห์และสรุปผล

  • ดูอัตราการคลิก (CTR) และค่าใช้จ่ายต่อคลิก (CPC)
  • วิเคราะห์อัตราการแปลงผล (Conversion Rate)
  • คำนวณผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI)

สรุป

วิธียิงแอดที่เราได้แนะนำไปในบทความ เป็นเพียงแนวทางการยิงแอดสำหรับมือใหม่ที่ต้องการเริ่มต้นยิงโฆษณาด้วยตัวเอง ในช่วงที่ลองยิงแอดแรก ๆ ผลลัพธ์อาจจะยังไม่มีประสิทธิภาพมากเท่าไหร่นัก ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้กับมือใหม่ แต่เมื่อคุณได้ยิง Ads ไปเรื่อย ๆ แล้ว คุณก็จะเริ่มจับทางการยิงแอดของธุรกิจของคุณได้มากขึ้น รู้วิธียิงแอดหรือตั้งค่าข้อมูลต่าง ๆ สำหรับธุรกิจของคุณมากขึ้น ซึ่งผลลัพธ์ที่ตามมาก็จะดีขึ้นตามลำดับ นอกจากนี้ การลงคอร์สเรียนสอนยิงแอดหรือจ้างเอเจนซี่ยิงแอดและเรียนรู้กับพวกเขา ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้คุณสามารถยิงแอดได้ด้วยตัวเองเร็วขึ้นได้เช่นกัน

Related News

คู่มือการทำ Schema Markup บน WordPress ฉบับสมบูรณ์ โดยไม่ต้องเขียนโค้ด

Wordpress schema markup เป็นทักษะที่ SEO Specialist ควรเชี่ยวชาญ ในบทความนี้ เราจะสอนการลงมือทำแบบละเอียดโดยไม่ต้องพึ่งโปรแกรมเมอร์

แชร์ 10 เทคนิคทำโฆษณาสินค้าโน้มน้าวใจ เร่งยอดขาย 2025

ธุรกิจจะอยู่รอดต่อไปในอนาคตได้หรือไม่ ยอดขายเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดที่สำคัญที่สุด เพราะถ้าคุณมียอดขายสูงพอ มันก็จะครอบคลุมในส่วนของเงินทุนที่เสียไปในตอนแรกและได้ทั้งกำไรที่จะต่อยอดธุรกิจต่อไป ซึ่งแบรนด์อย่างเรา ๆ ก็ต้องพยายามกระตุ้นความต้องการของผู้บริโภค ให้พวกเขารู้สึกว่าจำเป็นต้องมีสิ่งนี้ และตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการนั้นในท้ายที่สุด ผ่านการพูดโน้มน้าวใจโฆษณาสินค้าไปยังช่องทางต่าง ๆ อาทิ TikTok, Facebook หรือ Website ด้วยเหตุนี้การโฆษณาสินค้าโน้มน้าวใจ จึงไม่ได้มีหน้าที่เพียงกระตุ้นความต้องการแล้วจบไปเท่านั้น แต่เป็นการกระตุ้นให้เกิด Conversion ขึ้นจริง มาทำความเข้าใจเรื่องโฆษณาสินค้าโน้มน้าวใจ พร้อมดูตัวอย่างการโฆษณาสินค้าโน้มน้าวใจจากแบรนด์ต่าง ๆ กับ ANGA Mastery ได้ที่นี่เลย

Google My Business คือเครื่องมือสำคัญ ที่ทุกธุรกิจห้ามพลาด

เพื่อความอยู่รอดของธุรกิจ ไม่ว่าใครก็ต้องหันมาพึ่งพาการทำการตลาดออนไลน์กันทั้งนั้น เพราะเราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าธุรกิจที่มีหน้าร้านหรือข้อมูลบนโลกออนไลน์ เป็นที่รู้จักและเติบโตได้เร็วกว่าธุรกิจที่ไม่มีข้อมูลบนโลกออนไลน์เลย ยิ่งธุรกิจใดมีการปักหมุดแผนที่ลงไปใน Google Maps และใส่ข้อมูลรายละเอียดของธุรกิจอย่างครบครันด้วยล่ะก็ ก็ยิ่งมีโอกาสที่จะได้ลูกค้าใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นมากเท่านั้น ในวันนี้ ANGA Mastery จะมาแนะนำให้คุณรู้จักว่า Google My Business คืออะไร บอกได้เลยว่าสิ่งนี้ช่วยธุรกิจของคุณได้มาก ทั้งธุรกิจที่มีหน้าร้านก็ดี หรือธุรกิจที่ไม่มีหน้าร้านก็ตาม อีกทั้งยังส่งผลดีต่อการทำ SEO พร้อมกับเพิ่มประสิทธิภาพของการทำ Local SEO ให้กับธุรกิจที่มีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง

คู่มือการทำ Schema Markup บน WordPress ฉบับสมบูรณ์ โดยไม่ต้องเขียนโค้ด

Wordpress schema markup เป็นทักษะที่ SEO Specialist ควรเชี่ยวชาญ ในบทความนี้ เราจะสอนการลงมือทำแบบละเอียดโดยไม่ต้องพึ่งโปรแกรมเมอร์

แชร์ 10 เทคนิคทำโฆษณาสินค้าโน้มน้าวใจ เร่งยอดขาย 2025

ธุรกิจจะอยู่รอดต่อไปในอนาคตได้หรือไม่ ยอดขายเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดที่สำคัญที่สุด เพราะถ้าคุณมียอดขายสูงพอ มันก็จะครอบคลุมในส่วนของเงินทุนที่เสียไปในตอนแรกและได้ทั้งกำไรที่จะต่อยอดธุรกิจต่อไป ซึ่งแบรนด์อย่างเรา ๆ ก็ต้องพยายามกระตุ้นความต้องการของผู้บริโภค ให้พวกเขารู้สึกว่าจำเป็นต้องมีสิ่งนี้ และตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการนั้นในท้ายที่สุด ผ่านการพูดโน้มน้าวใจโฆษณาสินค้าไปยังช่องทางต่าง ๆ อาทิ TikTok, Facebook หรือ Website ด้วยเหตุนี้การโฆษณาสินค้าโน้มน้าวใจ จึงไม่ได้มีหน้าที่เพียงกระตุ้นความต้องการแล้วจบไปเท่านั้น แต่เป็นการกระตุ้นให้เกิด Conversion ขึ้นจริง มาทำความเข้าใจเรื่องโฆษณาสินค้าโน้มน้าวใจ พร้อมดูตัวอย่างการโฆษณาสินค้าโน้มน้าวใจจากแบรนด์ต่าง ๆ กับ ANGA Mastery ได้ที่นี่เลย

Google My Business คือเครื่องมือสำคัญ ที่ทุกธุรกิจห้ามพลาด

เพื่อความอยู่รอดของธุรกิจ ไม่ว่าใครก็ต้องหันมาพึ่งพาการทำการตลาดออนไลน์กันทั้งนั้น เพราะเราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าธุรกิจที่มีหน้าร้านหรือข้อมูลบนโลกออนไลน์ เป็นที่รู้จักและเติบโตได้เร็วกว่าธุรกิจที่ไม่มีข้อมูลบนโลกออนไลน์เลย ยิ่งธุรกิจใดมีการปักหมุดแผนที่ลงไปใน Google Maps และใส่ข้อมูลรายละเอียดของธุรกิจอย่างครบครันด้วยล่ะก็ ก็ยิ่งมีโอกาสที่จะได้ลูกค้าใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นมากเท่านั้น ในวันนี้ ANGA Mastery จะมาแนะนำให้คุณรู้จักว่า Google My Business คืออะไร บอกได้เลยว่าสิ่งนี้ช่วยธุรกิจของคุณได้มาก ทั้งธุรกิจที่มีหน้าร้านก็ดี หรือธุรกิจที่ไม่มีหน้าร้านก็ตาม อีกทั้งยังส่งผลดีต่อการทำ SEO พร้อมกับเพิ่มประสิทธิภาพของการทำ Local SEO ให้กับธุรกิจที่มีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง

logo

ติดต่อเรา

ANGA Mastery คือแพลตฟอร์มแห่งการเรียนรู้ด้านการตลาดในยุคดิจิตอล ที่ไม่ใช่แค่ทฤษฎี แต่เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงของเอเจนซีชั้นนำที่เคยลงมือทำจริง เรียนรู้เทคนิคที่ใช้ได้ผลจริง และนำไปปรับใช้กับธุรกิจของคุณได้ทันที เหมาะสำหรับ ผู้บริหารองค์กร เช่น CEO, MD, VP, ผู้บริหารระดับสูง นักการตลาดระดับสูง เช่น Marketing Manager และ เจ้าของธุรกิจ