ทำความเข้าใจ user acquisition vs traffic acquisition ใน GA4 แตกต่างกันอย่างไร

By Suppanat Thaiyanant I Google Analytics 4 Specialist

30 OCTOBER 24

722

angamaster-c9.webp

เคยสงสัยกันไหมครับ? ทำไมตัวเลขใน user acquisition กับ traffic acqusition report ถึงมีค่าแตกต่างกัน ทั้งๆที่เราเลือก dimension เดียวกัน คำตอบคือ ทั้งสองรายงานนั้น มีการให้คะแนนหรือการเคลมเครดิตของค่าตัวเลขต่างๆ (attribution) เช่น conversion แตกต่างกัน 

 

บทความนี้เราจะพามาทำความเข้าใจแบบเชิงลึกแต่จะย่อยให้เข้าใจง่ายว่า 2 รีพอร์ท นี้มีความแตกต่างกันอย่างไร

 

ความแตกต่างระหว่าง user acquisition vs traffic acquisition 

หากคุณเข้าใจแล้วว่า Google Analytics ติดตั้งอย่างไร การใช้งาน GA4 ไปสักระยะแล้วเริ่มสังเกตว่า ทำไมตัวเลขต่างๆ เช่น event count หรือ key events ถึงมีความแตกต่างกัน ทั้งๆที่มีการเช็ค Tracking แล้วว่าไม่ได้มีติดผิดพลาดอะไร ยกตัวอย่างเช่น

ใน user acquisition report แสดงผลว่ามีคนทำ “reserve_now” event จากช่องทาง Organic Search จำนวน 13 คน

 

ความแตกต่างระหว่าง user acquisition vs traffic acquisition

แต่ใน Traffic acquisition report กลับแสดงว่าามีคนทำ “reserve_now” event จากช่องทาง Organic Search มากถึงจำนวน 33 คน

 

ความแตกต่างระหว่าง user acquisition vs traffic acquisition

แล้วเราควรเชื่อ data จาก report ไหนกันหล่ะ หรืออันนี้คือ Bug กันนะ ? จริงๆแล้ว ความแตกต่างระหว่าง user acquisition vs traffic acquisition บน GA4 จะมีหลักๆด้วยกัน 3 ส่วนดังนี้

ความแตกต่าง user acquisition vs traffic acquisition ในแง่ของ concept

 

คอนเซ็ปของ user acquisition report คือ แสดงผลตัวเลขโดยยึดจาก”ช่องทางแรก” ที่พาผู้ใช้งานเข้ามาที่ website ในขณะที่ traffic acquisition report จะแสดงผล “ช่องทางล่าสุด” ที่พาผู้ใช้งานเข้ามายัง website

ตัวอย่างเช่น

  1. นาย A เจอโฆษณาของ ANGA Mastery บน Google Ads และทำการคลิกเพื่อเข้า Website
  2. ในวันถัดมานาย A กลับเข้า Website อีกครั้งด้วยการค้นหาคำว่า ANGA Mastery บน Google และคลิกเข้าเว็ปไซต์แบบไม่ผ่านโฆษณา

เราจะสรุปเคสนี้ได้ว่า ใน 1 user เกิด 2 sessions ขึ้นมา จาก 2 ช่องทางหลัก ซึ่งคือ Paid Search กับ Organic Search

ถ้าเราอ่านค่าจาก user acquisition report เราจะเห็นตัวเลขแสดงผลว่า  2 sessions นี้จะเกิดขึ้นจาก Paid Search ทั้งหมด เนื่องจาก user acquisition report จะให้คะแนนอีเว้นท์ต่างๆโดยอ้างอิงจากช่องทางแรกเท่านั้น

ในทางกลับกันถ้าเราอ่านค่าจาก traffic acquisition report เราจะเห็นว่า ใน 1 user มี 1 session เกิดขึ้นจาก Paid Search และ อีก 1 session เกิดขึ้นจาก Organic Search เนื่องจากใน traffic acquisition report ให้คะแนนจากช่องทางล่าสุด นั้นเอง

ความแตกต่าง user acquisition vs traffic acquisition ในแง่ของ attribution

 

ในภาษา Digital Marketing จะสามารถอธิบายความแตกต่างของ attribution model ของทั้ง 2 รีพอร์ทนี้ได้ง่าย

User acquisiton report ใช้ first-click attribution model แต่ในขณะที่ traffic acquisition report ใช้ last-click attribution model ซึ่งความหมายก็จะคล้ายๆกับหัวข้อด้านบน ซึ่งคือ คลิกแรกที่เข้าเว็ปไซต์ กับ คลิปสุดท้ายที่เข้าเว็ปไซต์

 

ดังนั้นใน GA4 เราจะเห็นได้ว่า ใน Dimension ของ User acquisition Report จะขึ้นต้นด้วย First user… แต่ถ้ากรณีที่เป็น Traffic acquisition report จะขึ้นต้นด้วย session… นั้นเอง

อธิบายเคสความแตกต่างในแง่ของ attribution model ได้ดังนี้

  1. นาย A เจอค้นหาคำว่า “คอร์สเรียน SEO” จาก Organic Search แล้วคลิกเข้าเว็ปไซต์ ANGA Mastery เป็นครั้งแรก
  2. ในวันถัดมานาย A กลับเข้า Website อีกครั้งด้วยการคลิกเข้ามาจาก Facebook Ads และทำการสั่งซื้อสินค้า 1 ชิ้น

 

ถ้าเราอ่านค่าจาก user acquisition report เราจะเห็นว่าจะมี 1 Purchase ที่เกิดขึ้นจาก Organic Search แต่ในขณะที่ถ้าเราอ่าน Traffic acquisition report ช่องทางที่จะได้คะแนนนี้ไปคือ Faacebook Ads

ความแตกต่าง user acquisition vs traffic acquisition ในแง่การวัดผล

 

จากที่เราทำความเข้าใจกันไปแล้วว่า user acquisition vs traffic acquisition บน GA4 แตกต่างกันอย่างไร คราวนี้จะมาชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างในมุมของนักการตลาดกันบ้าง 

User acquisition report จะเหมาะสำหรับการวัดผลในการทำ brand awareness campaign เนื่องจาก data ที่แสดงผลในรีพอร์ทนี้จะเป็นข้อมูลที่สามารถบ่งชี้ได้เลยว่า user เข้าใช้งานเว็บไซต์ของคุณครั้งแรกจากที่ไหน

Traffic acquisition report จะเหมาะสำหรับการวัดผลพฤติกรรมลูกค้าได้ session นั้นๆ เช่น เราสามารถรู้ได้เลยว่า ช่องทางสุดท้ายที่ลูกค้าทำ conversion คือช่องทางใด ดังนั้น การวัดผล marketing campaign นักการตลาดมักใช้งาน Traffic acquision report กันในส่วนมาก

สรุป

การเข้าใจความแตกต่างระหว่าง traffic acquisition report vs user acquisition report เป็นสิ่งจำเป็นที่นักการตลาดสาย data จำเป็นต้องเข้าใจเนื่องจาก การตัดสินใจทำ Marketin Campaign หรือ Activity ต่างๆ จะต้องถูกวิเคราะห์จากแหล่งข้อมูลที่คุณมีความเข้าใจที่มา 100%

หากคุณต้องการเรียน Google Analytics แบบเชี่ยวชาญจนใช้งานเป็นทุก click ทุก feature ไม่ว่าจะเป็นฟีเจอร์ใหม่อย่าง GA4 Plot Rows ตอนนี้ ANGA Mastery มีเปิดสอนคอร์ส Comprehensive Google Analytics 4 ซึ่งถือว่าเป็นครั้งแรกที่ “Agency” กล้าแชร์ knowledge, insights, และ know-how ในการใช้งานโปรแกรม GA4 รับรองได้เลยว่าเนื้อหาจะเข้มข้นไม่เหมือนที่ไหนแน่นอน

Related News

รู้จัก Churn Rate คืออะไร ทำไมถึงกลายเป็นฝันร้ายของคนทำธุรกิจ

Churn Rate คือตัวชี้วัดการสูญเสียลูกค้าที่ส่งผลโดยตรงต่อกำไรธุรกิจ เรียนรู้สาเหตุและ 5 เทคนิคลด Churn Rate ที่พิสูจน์แล้วว่าได้ผลจริงในบทความนี้

แชร์ 5 เครื่องมือใช้เช็กอันดับเว็บไซต์ SEO ที่เอเจนซี่ใช้จริง

รวม 5 เครื่องมือเช็กอันดับเว็บที่เอเจนซี่รับทำ SEO ใช้จริง พร้อมวิธีใช้งานทีละขั้นตอน ทั้ง Google Search Console, SERanking, Ahrefs และอื่น ๆ

สอนวิธีเช็กอันดับเว็บไซต์ เช็กอันดับ SEO ด้วยตัวเอง

รวมวิธีสอนเช็กอันดับเว็บง่าย ๆ ด้วยตัวเอง เช็กอันดับ SEO ยังไงได้บ้าง เลือกมาให้แค่วิธีที่ง่ายและฟรี มือใหม่ทำได้ ไม่ต้องจ้างเอเจนซี่ อัปเดต 2025

รู้จัก Churn Rate คืออะไร ทำไมถึงกลายเป็นฝันร้ายของคนทำธุรกิจ

Churn Rate คือตัวชี้วัดการสูญเสียลูกค้าที่ส่งผลโดยตรงต่อกำไรธุรกิจ เรียนรู้สาเหตุและ 5 เทคนิคลด Churn Rate ที่พิสูจน์แล้วว่าได้ผลจริงในบทความนี้

แชร์ 5 เครื่องมือใช้เช็กอันดับเว็บไซต์ SEO ที่เอเจนซี่ใช้จริง

รวม 5 เครื่องมือเช็กอันดับเว็บที่เอเจนซี่รับทำ SEO ใช้จริง พร้อมวิธีใช้งานทีละขั้นตอน ทั้ง Google Search Console, SERanking, Ahrefs และอื่น ๆ

สอนวิธีเช็กอันดับเว็บไซต์ เช็กอันดับ SEO ด้วยตัวเอง

รวมวิธีสอนเช็กอันดับเว็บง่าย ๆ ด้วยตัวเอง เช็กอันดับ SEO ยังไงได้บ้าง เลือกมาให้แค่วิธีที่ง่ายและฟรี มือใหม่ทำได้ ไม่ต้องจ้างเอเจนซี่ อัปเดต 2025

logo

ติดต่อเรา

ANGA Mastery คือแพลตฟอร์มแห่งการเรียนรู้ด้านการตลาดในยุคดิจิตอล ที่ไม่ใช่แค่ทฤษฎี แต่เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงของเอเจนซีชั้นนำที่เคยลงมือทำจริง เรียนรู้เทคนิคที่ใช้ได้ผลจริง และนำไปปรับใช้กับธุรกิจของคุณได้ทันที เหมาะสำหรับ ผู้บริหารองค์กร เช่น CEO, MD, VP, ผู้บริหารระดับสูง นักการตลาดระดับสูง เช่น Marketing Manager และ เจ้าของธุรกิจ