12 FEBRUARY 25
125
ธุรกิจ B2C (Business to Consumer) หรือธุรกิจซื้อมาขายไป ไม่อาจอยู่รอดในยุคนี้ได้ หากไม่มีการเปิดหน้าร้านขายของผ่านช่องทางออนไลน์ร่วมด้วย การขายของผ่านช่องทางออนไลน์หรือ E-commerce สามารถทำได้โดยการขายผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ อย่าง Shopee หรือ Lazada และการเปิดเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซเป็นของตัวเอง แต่การเปิดเว็บไซต์ขายของออนไลน์ไว้เฉย ๆ โดยที่ไม่ได้มีการโปรโมตเว็บไซต์ร่วมด้วย ก็อาจจะทำให้ยอดขายไม่สูงเท่าที่ตั้งเป้าหมายไว้ได้ ด้วยเหตุนี้การทำ SEO บนเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ (E-commerce SEO) จึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก เพราะ E-commerce SEO จะทำให้เว็บไซต์ของคุณติดอันดับบน Google และนำไปสู่ยอดขายในท้ายที่สุด มาเรียนรู้วิธีทำ E-commerce SEO เพิ่มยอดขายกับ ANGA Mastery ผ่านบทความนี้ได้เลย
E-commerce คือการขายสินค้าหรือบริการผ่านโลกอินเทอร์เน็ต หรือบางคนอาจจะเรียกว่าการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะมีเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันเป็นสื่อการในการทำธุรกรรมการซื้อ-ขาย ยกตัวอย่างง่าย ๆ คือการซื้อขายสินค้าบน Shopee หรือการซื้อสินค้าผ่านเว็บไซต์ เป็นต้น ธุรกิจอีคอมเมิร์ซเติบโตขึ้นมาหลังจากที่โลกนี้เผชิญกับการระบาดของ COVID-19 เนื่องจากผู้คนต้องกักตัวเองเอาไว้ในบ้าน ไม่ได้ออกไปไหนเลย การซื้อ-ขายสินค้าผ่านหน้าร้านจึงทำได้ยาก แต่คนเราก็ต้องซื้อของกินของใช้และโหยหาการช้อปปิ้งเช่นกัน จึงทำให้มีการจับจ่ายใช้สอยผ่านช่องทางออนไลน์เป็นหลัก
ส่วน SEO คือการทำให้เว็บไซต์ติดอันดับบนหน้าแสดงผลการค้นหาของ Search Engine หรือที่เราคุ้นเคยกันดีอย่าง Google โดย SEO ย่อมาจาก Search Engine Optimization วิธีทำ SEO จะประกอบไปด้วยการปรับแต่งเว็บไซต์ให้ใช้งานง่าย ใช้งานสะดวก โหลดเร็ว, ปรับแต่งเนื้อหาบนเว็บไซต์ให้มีคุณภาพน่าเชื่อถือ, เขียนบทความ SEO ให้ตอบโจทย์ผู้อ่าน, แก้ไขปัญหาเชิงเทคนิคให้ครบถ้วน, การทำ Backlink เพื่อเพิ่มคะแนนความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ และยังรวมไปถึงการใช้กลยุทธ์ SEO ต่าง ๆ ในการเพิ่มประสิทธิภาพด้วย ผลลัพธ์ของการทำ SEO คือเว็บไซต์ติดอันดับสูง > มีคนมองเห็นจำนวนมาก > สร้างโอกาสที่ผู้ใช้งานจะกดเข้ามาในเว็บไซต์ > รู้จักแบรนด์ สินค้า และธุรกิจ > ปิดการขาย > ยอดขายสูงขึ้น และส่งผลให้ธุรกิจเติบโตได้
E-commerce SEO คือการปรับแต่งเว็บไซต์ขายของออนไลน์ ตามหลักการทำ SEO เพื่อผลักดันเว็บไซต์ให้ติดอันดับในตำแหน่งสูงบน Google SERPs (Search Engine Results Pages) เนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการบน Google Search มักจะกดเข้าไปที่เว็บไซต์ที่ติดอันดับในตำแหน่งต้น ๆ (1-3) มากกว่าต่ำแหน่งอื่น ๆ จึงทำให้เว็บไซต์ที่อยู่ในตำแหน่งนี้มีโอกาสปิดการขายได้มากกว่านั่นเอง
ลองนึกภาพว่าคุณอยากได้หูฟังบลูทูธดี ๆ สักตัวนึง แต่ก็ไม่รู้ว่าจะซื้อยี่ห้อไหนดี จึงอยากจะค้นหาข้อมูลดูก่อนว่ามันมียี่ห้อไหนที่น่าสนใจบ้างและราคาอยู่ในเกณฑ์ที่รับได้ไหม จึงทำการค้นหาข้อมูลใน Google ด้วยการใช้คำค้นหา (Keyword) อย่าง “หูฟังบลูทูธ”, “หูฟังบลูทูธ ราคาถูก”, “หูฟังบลูทูธ ยี่ห้อไหนดี” หรือ “หูฟังบลูทูธ เสียงดี” คุณจะพบว่ามีเว็บไซต์ขายของออนไลน์ต่าง ๆ ขึ้นมาให้เลือกเต็มไปหมด แน่นอนว่ากว่า 90% ของเว็บไซต์ที่ติดอันดับ 1-3 บน Google (หรือแทบจะทุกอันดับ) มีการทำ E-commerce SEO ร่วมด้วย
การทำ E-commerce SEO มีความยากและซับซ้อนกว่าการทำ SEO บนเว็บไซต์ทั่วไป เนื่องจากคุณต้องจัดการกับข้อมูลสินค้าจำนวนมาก ติดตั้งระบบการชำระเงินที่ปลอดภัย แถมยังต้องทำให้เว็บไซต์ดูน่าเชื่อถือและง่ายต่อการทำธุรกรรมทางการเงินอีกด้วย มาดูกันว่าเทคนิคและวิธีทำ E-commerce SEO เพิ่มยอดขายให้ธุรกิจในปี 2025 ต้องทำกันบ้าง
Keyword Research คือกระบวนการค้นหาคีย์เวิร์ด (คำค้นหา) ที่ผู้บริโภคใช้ในการค้นหาข้อมูลจริง เพราะคีย์เวิร์ดเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้บริโภคมาพบกับเว็บไซต์ธุรกิจของเรา เช่น เว็บไซต์ของเรามีการทำ E-commerce SEO โดยใช้คีย์เวิร์ดคำว่า “วิตามิน C” เมื่อผู้บริโภคค้นหาคำว่า “วิตามิน C” ก็จะพบกับเว็บไซต์ของเรา เป็นต้น คุณสามารถทำ Keyword Research ผ่านเครื่องมือ SEO ฟรีอย่าง Google Keyword Planner ได้ ส่วนวิธีการเลือกคีย์เวิร์ดมาใช้ทำ E-commerce SEO ให้พิจารณาจากความเกี่ยวข้องกับธุรกิจ, ปริมาณการค้นหา (Search Volume), ความยากในการแข่งขัน และต้องเป็นคำที่มีเจตนาในการซื้อสูงด้วย
Technical SEO หรือการทำ SEO เชิงเทคนิคเป็นสิ่งที่คุณต้องแก้ไขและปรับปรุงให้เรียบร้อย เพื่อให้เว็บไซต์พร้อมใช้งานและมีโอกาสที่จะติดอันดับบน Google มากที่สุด หากเว็บไซต์มีปัญหาด้านเทคนิคอย่าง 404 Not Found (ลิงก์เสีย), หน้าเว็บไม่แสดงผลตามที่ตั้งค่าไว้, HTTP Error 500, หน้าเว็บโหลดช้า ฯลฯ ก็อาจส่งผลต่ออันดับ SEO และประสบการณ์การท่องเว็บของผู้ใช้งานได้
Google ให้ความสำคัญกับ User Experience หรือประสบการณ์ของผู้ใช้งานเป็นอย่างมาก ถึงขั้นเอามาเป็นหนึ่งในปัจจัยจัดอันดับเว็บไซต์เลยก็ว่าได้ หากผู้ใช้งานรู้สึกพึงพอใจกับการใช้งานเว็บไซต์ พวกเขาจะใช้เวลาอยู่บนเว็บนานขึ้น มีโอกาสกลับมาซื้อซ้ำ และแนะนำต่อไป ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้จะส่งสัญญาณเชิงบวกไปยัง Search Engine และช่วยให้เว็บไซต์ได้รับการจัดอันดับที่ดีขึ้น แนะนำให้การออกแบบเว็บไซต์ให้ใช้งานง่ายบนทุกอุปกรณ์ โดยเฉพาะมือถือ การปรับปรุงความเร็วในการโหลดหน้าเว็บ และการจัดวางเมนูและระบบค้นหาที่ใช้งานสะดวก
การปรับแต่งหน้าสินค้าเป็นหัวใจสำคัญของ E-commerce SEO เพราะหน้าสินค้าเป็นหน้าที่มีโอกาสสร้างยอดขายโดยตรง แต่ละหน้าควรมีเนื้อหาที่มีคุณภาพ อธิบายรายละเอียดสินค้าอย่างครบถ้วน และใช้ภาษาที่เป็นธรรมชาติ ไม่ใส่คีย์เวิร์ดมากจนเกินไป นอกจากนี้ยังควรติดตั้ง Schema Markup เพื่อให้ Google แสดงผลข้อมูลสินค้าในรูปแบบที่น่าสนใจบนหน้าผลการค้นหาด้วย
เขียนบทความ SEO ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการแบบครบถ้วนทุกแง่มุม โดยเฉพาะการใช้ Long-tail Keyword ที่มีเจตนาในการซื้อสูง อาทิ ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสินค้า, คู่มือการเลือกซื้อสินค้าเฉพาะทาง, เปรียบเทียบสินค้า, วิธีแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสินค้า, แนะนำสินค้าใหม่ ฯลฯ พร้อมกับเขียนโดยคำนึกถึง E-E-A-T Factor ด้วย (ถ้าเป็นธุรกิจสุขภาพก็ต้องเขียนให้ตอบโจทย์อัลกอริทึม YMYL) อย่าลืมอัปเดตเนื้อหาและข้อมูลสินค้าให้เป็นเวอร์ชันใหม่ล่าสุดด้วย
การติดตาม วิเคราะห์ผล และปรับปรุงประสิทธิภาพของกลยุทธ์ E-commerce SEO เป็นขั้นตอนที่ไม่ควรมองข้าม เพราะจะช่วยให้เราเข้าใจว่ากลยุทธ์ที่ใช้อยู่นั้นได้ผลดีหรือไม่ และควรปรับปรุงส่วนใดเพิ่มเติม ข้อมูลจากเครื่องมือวิเคราะห์ต่าง ๆ จะช่วยให้เราเห็นพฤติกรรมของผู้ใช้ ปัญหาทางเทคนิค และโอกาสในการพัฒนาที่อาจมองข้ามไป การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องตามข้อมูลที่ได้จะช่วยให้ผลลัพธ์ด้าน SEO ดีขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับเครื่องมือที่เราแนะนำ คือ Google Search Console สำหรับตรวจสอบประสิทธิภาพ SEO บนเว็บไซต์ และ Google Analytics 4 สำหรับวิเคราะห์พฤติกรรมผู้ใช้
กลยุทธ์ E-Commerce SEO ช่วยสร้างผลลัพธ์ให้แก่ธุรกิจที่มีกลุ่มเป้าหมายอยู่บนโลกออนไลน์ได้เป็นอย่างไร หากคุณลงทุนสร้างเว็บไซต์ขายของออนไลน์ขึ้นมาแล้ว อย่าลืมทำ SEO ควบคู่กันไปด้วย เพื่อสร้างยอดขายให้แก่ธุรกิจในระยะยาวต่อไป ทั้งนี้ นอกจากวิธีทำ SEO ด้วยตัวเองที่เราแนะนำไปในบทความนี้แล้ว คุณสามารถลงคอร์สเรียน SEO เพิ่มเติม หรือจ้างบริษัทรับทำ SEO ให้เข้ามาช่วยดูแลควบคู่กันไปได้ เนื่องจากการลงคอร์สเรียนจะช่วยให้คุณเข้าใจกระบวนการมากขึ้น ส่วนการจ้างเอเจนซี่ก็จะช่วยให้กระบวนการมีความถูกต้องมากขึ้น และได้ผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้นนั่นเอง
พัฒนาสกิลที่ถูกต้องสำหรับผู้นำ
ด้านการตลาดออนไลน์
13 MARCH
ทำความเข้าใจ Media Plan คืออะไร กลยุทธ์วางแผนสื่อที่ช่วยให้ธุรกิจสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงกลุ่มและมีประสิทธิภาพสูง จนธุรกิจเติบโต
13 MARCH
13 MARCH
13 MARCH
13 MARCH
13 MARCH
ANGA Mastery คือแพลตฟอร์มแห่งการเรียนรู้ด้านการตลาดในยุคดิจิตอล ที่ไม่ใช่แค่ทฤษฎี แต่เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงของเอเจนซีชั้นนำที่เคยลงมือทำจริง เรียนรู้เทคนิคที่ใช้ได้ผลจริง และนำไปปรับใช้กับธุรกิจของคุณได้ทันที เหมาะสำหรับ ผู้บริหารองค์กร เช่น CEO, MD, VP, ผู้บริหารระดับสูง นักการตลาดระดับสูง เช่น Marketing Manager และ เจ้าของธุรกิจ