CMO คือตําแหน่งอะไร กับบทบาทหน้าที่และความสำคัญต่อองค์กร

By Rachavit Whangpatanathon I MD at ANGA Group

02 DECEMBER 24

3.5k

no.10.webp

CMO คือตำแหน่งอะไร? และมีความสำคัญต่อธุรกิจในยุค Digital Transformation อย่างไร? เป็นคำถามที่หลาย ๆ องค์กรกำลังให้ความสนใจ เนื่องจากในตอนนี้ทุกสิ่งทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลงอยู่แทบจะตลอดเวลา โดยเฉพาะเทคโนโลยี เทรนด์การตลาด และพฤติกรรมของผู้บริโภค ทำให้ผู้ที่อยู่ในตำแหน่ง CMO หรือ Chief Marketing Officer ต่างต้องปรับตัวและมุ่งพัฒนาทักษะใหม่ ๆ เพื่อให้องค์กรอยู่รอดต่อไป ท่ามกลางการแข่งขันอันดุเดือดของหลากหลายองค์กรในแวดวงธุรกิจเดียวกัน มาทำความเข้าใจว่า CMO คือตำแหน่งอะไร พร้อมหน้าที่ความรับผิดชอบและสกิลที่ตำแหน่งนี้ต้องมีผ่านบทความนี้จาก ANGA Mastery ได้เลย

CMO คือตําแหน่งอะไร

CMO คือตําแหน่งอะไร? CMO หรือ Chief Marketing Officer คือผู้บริหารระดับสูงที่ดูแลงานการตลาดทั้งหมดขององค์กร นอกจากการคิดแคมเปญ ยิงแอด และดูแลเรื่องการประชาสัมพันธ์แล้ว ยังรับผิดชอบด้านการวางกลยุทธ์การตลาด รวมถึงการกำหนดทิศทางและวางวิสัยทัศน์ด้านการตลาดให้สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กรด้วย เพื่อให้องค์กรสามารถเติบโตอย่างยั่งยืน

โดยรวมแล้ว CMO ต้องเป็นทั้งนักกลยุทธ์ นักวิเคราะห์ และนักสร้างสรรค์ในคนเดียวกัน พวกเขาต้องเข้าใจทั้งพฤติกรรมผู้บริโภค การเปลี่ยนแปลงของตลาด และเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อสร้างความแตกต่างให้กับแบรนด์ ไม่ใช่แค่ทำการตลาดแบบเดิม ๆ อีกต่อไป

CMO มีหน้าที่อะไร

CMO ต้องรับผิดชอบการบริหารงานการตลาดและแบรนด์ขององค์กรทั้งหมด ตั้งแต่การวิเคราะห์ธุรกิจค้นหากลุ่มเป้าหมาย วางแผนกลยุทธ์ทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพื่อให้แบรนด์เป็นที่รู้จัก มียอดขายเพิ่มขึ้น และเติบโตอย่างต่อเนื่อง รวมถึงต้องคอยดูแลภาพลักษณ์และชื่อเสียงขององค์กรให้แข็งแกร่งด้วย แถม CMO ยังต้องปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภคในปัจจุบันด้วย อย่างที่เราเห็นได้ชัดเจนคือผู้บริโภคมักค้นหาข้อมูลและตัดสินใจซื้อด้วยตัวเอง ไม่ได้พึ่งพาพนักงานขายเหมือนเมื่อก่อน ดังนั้น ถ้าอยากมัดใจผู้บริโภคได้ CMO ต้องรู้จักใช้เครื่องมือการตลาดดิจิทัล (MarTech) มาสร้างคอนเทนต์ที่ตรงใจกลุ่มเป้าหมายในแต่ละช่องทางและมีสกิลพื้นฐานด้านการตลาดออนไลน์อย่างครอบคลุม

  • วางแผนและกำหนดกลยุทธ์การตลาดให้สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร (TAM SAM SOM)
  • บริหารงบประมาณการตลาดให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
  • วิเคราะห์ข้อมูลตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภคเพื่อหาโอกาสใหม่ๆ
  • ออกแบบแคมเปญการตลาดที่น่าสนใจและวัดผลได้
  • ดูแลการสื่อสารแบรนด์ในทุกช่องทางให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

นอกจากนี้ CMO ยังต้องเป็นผู้นำทีมการตลาดที่ดี สามารถสร้างแรงบันดาลใจและพัฒนาทักษะของทีมให้ทันกับความเปลี่ยนแปลง รวมถึงต้องประสานงานกับฝ่ายอื่น ๆ ในองค์กรได้เป็นอย่างดีด้วย ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายขาย ฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือฝ่ายบริการลูกค้าก็ตาม เพื่อให้งานการตลาดเชื่อมโยงและสนับสนุนการทำงานของทุกฝ่าย

ตําแหน่งอะไรใหญ่กว่า CEO

ในองค์กรขนาดใหญ่มักมีตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงหลายตำแหน่ง แต่ละตำแหน่งมีหน้าที่รับผิดชอบแตกต่างกัน ซึ่งโครงสร้างนี้อาจแตกต่างกันไปในแต่ละองค์กร บางแห่งอาจรวมบางตำแหน่งเข้าด้วยกัน หรือเพิ่มตำแหน่งอื่น ๆ ตามความเหมาะสมกับลักษณะธุรกิจได้ มาดูกันว่ามีตำแหน่งใดบ้างและแต่ละตำแหน่งทำหน้าที่อะไร

  • Chairman (ประธานบริษัท) คือผู้ที่อยู่สูงสุดในคณะกรรมการบริษัท ทำหน้าที่กำหนดนโยบายและทิศทางองค์กรในระดับใหญ่
  • CEO (Chief Executive Officer หรือ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร) เป็นผู้บริหารสูงสุดที่รับผิดชอบการบริหารงานทั้งหมดขององค์กร
  • President/COO (Chief Operating Officer คือ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ) คอยดูแลการดำเนินงานประจำวันขององค์กรให้เป็นไปตามแผนและเป้าหมาย
  • C-Level Executives หรือผู้บริหารระดับ C-Level ได้แก่ CFO, CMO, CTO, CIO และ CHRO

C-Level Executives มีตำแหน่งไหนบ้าง

  • CFO (Chief Financial Officer หรือ ประธานเจ้าหน้าที่การเงิน) เป็นผู้รับผิดชอบด้านการเงิน การบัญชี และการลงทุนขององค์กร
  • CMO (Chief Marketing Officer หรือ ประธานเจ้าหน้าที่การตลาด) จะดูแลกลยุทธ์และการดำเนินงานด้านการตลาดทั้งหมด
  • CTO (Chief Technology Officer คือ ประธานเจ้าหน้าที่เทคโนโลยี) คอยรับผิดชอบด้านเทคโนโลยีและการพัฒนาระบบต่างๆ
  • CIO (Chief Information Officer คือ ประธานเจ้าหน้าที่สารสนเทศ) ดูแลระบบข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กร
  • CHRO (Chief Human Resources Officer คือ ประธานเจ้าหน้าที่ทรัพยากรบุคคล) ผู้รับผิดชอบการบริหารทรัพยากรบุคคลและพัฒนาบุคลากร

ตัวอย่างโครงสร้างองค์กร

การจัดโครงสร้างองค์กรที่ดีช่วยให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพ สร้างความชัดเจนในสายการบังคับบัญชา และทำให้พนักงานทุกระดับเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง องค์กรขนาดใหญ่มักมีการแบ่งสายงานและตำแหน่งผู้บริหารตามความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เพื่อให้การบริหารงานเป็นระบบและครอบคลุมทุกส่วนงานสำคัญ ลองมาดูตัวอย่างโครงสร้างองค์กรที่พบได้ทั่วไปในบริษัทขนาดใหญ่กัน

 

6 สกิลที่ Chief Marketing Officer ควรมีติดตัว

การก้าวขึ้นสู่ตำแหน่ง CMO ต้องผ่านการสั่งสมประสบการณ์และพัฒนาทักษะหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น ทักษะผู้บริหาร และ ทักษะผู้นำ ซึ่งนอกจากการเรียนรู้ผ่านการทำงานแล้ว การเข้าคอร์สเรียนการตลาด หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง หรือหลักสูตรอบรมพนักงานก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยเพิ่มพูนความรู้และทักษะได้อย่างรวดเร็ว มาดูกันว่า CMO ควรมีทักษะอะไรบ้าง

1. Brand Strategy

CMO ต้องเชี่ยวชาญการสร้างและพัฒนาแบรนด์ให้แข็งแกร่ง มีความสามารถในการวิเคราะห์คู่แข่งและวางตำแหน่งทางการตลาดได้อย่างแม่นยำ ที่สำคัญคือต้องสร้างเอกลักษณ์และคุณค่าของแบรนด์ที่โดดเด่น แตกต่างจากคู่แข่ง พร้อมถ่ายทอดไปสู่ทุกจุดสัมผัสกับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. Social Media Marketing

ความเข้าใจในการทำการตลาดบนโซเชียลมีเดียเป็นทักษะที่ขาดไม่ได้สำหรับ CMO พวกเขาต้องรู้เทคนิคการใช้งานแต่ละแพลตฟอร์ม เข้าใจพฤติกรรมผู้ใช้งาน และทันเทรนด์อยู่เสมอ รวมถึงต้องวางกลยุทธ์คอนเทนต์และแคมเปญที่สร้างการมีส่วนร่วมกับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ต้องสามารถตอบคำถามทีมได้ในเรื่องที่ซับซ้อนอย่าง Product Market Fit คืออะไร หรือ แม้กระทั่งเรื่องทั่วไปเช่น ควรลงติ๊กต๊อกเวลาไหนดี

3. Google Analytics 4

การเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลผ่าน Google Analytics เป็นทักษะสำคัญที่ช่วยให้ CMO เข้าใจพฤติกรรมผู้ใช้และวัดประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้อย่างแม่นยำ ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยในการปรับปรุงกลยุทธ์การตลาด ค้นพบวิธียิงแอดที่ได้เหมาะสม และสร้าง ROI ที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง (แนะนำให้ลงคอร์สเรียน Google Analytics 4 ดี ๆ สักคอร์ส)

4. Search Engine Optimization (SEO)

ทักษะด้าน SEO เป็นสิ่งที่ CMO ต้องให้ความสำคัญ ใครที่ยังไม่รู้จักต้องไปลงคอร์สเรียน SEO ได้แล้ว เพราะอย่างที่เราบอกไปว่าผู้บริโภคชอบค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ก่อนค่อยตัดสินใจซื้อ ซึ่ง SEO คือการทำให้เว็บไซต์ของคุณติดอันดับบน Google แบบ Organic และช่วยเพิ่ม Traffic บนเว็บไซต์ได้ในระยะยาว

5. SEO Strategy

การวางกลยุทธ์ SEO ที่มีประสิทธิภาพต้องอาศัยวิสัยทัศน์และความเข้าใจในภาพรวมของธุรกิจ ANGA Mstery พร้อมแบ่งปันความรู้ผ่านคอร์สสอนวางกลยุทธ์ SEO (SEO Strategy) ที่จะช่วยให้คุณวิเคราะห์คู่แข่ง ค้นหาโอกาสทางการตลาด และวางแผนกลยุทธ์ SEO ระยะยาวที่สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน เหมาะมากสำหรับคนที่เป็น CMO, ทีมการตลาด และผู้บริหารยุคใหม่

6. AI & Machine Learning

ในยุคที่เทคโนโลยี AI กำลังเปลี่ยนแปลงวงการการตลาด CMO ต้องเข้าใจการนำ AI มาประยุกต์ใช้ในงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า การเขียนคอนเทนต์ การทำ Personalization หรือการเพิ่มประสิทธิภาพแคมเปญ รวมถึงต้องติดตามเทรนด์เทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่จะเข้ามามีบทบาทในอนาคตด้วย

สรุป

หลังจากที่คุณทำความเข้าใจแล้วว่า CMO คือตำแหน่งอะไร เราจะเห็นได้ชัดว่าบทบาทนี้ยังคงมีความสำคัญและจำเป็นต่อธุรกิจในยุคปัจจุบัน แม้โลกจะเปลี่ยนไปเร็วแค่ไหน เพราะ CMO หรือ Chief Marketing Officer เป็นมากกว่าแค่หัวหน้าฝ่ายการตลาด และการมีผู้นำด้านการตลาดที่เข้าใจทั้งภาพรวมธุรกิจ พฤติกรรมผู้บริโภค และเทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่าง CMO ก็เป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้องค์กรเติบโตได้อย่างยั่งยืนด้วย ทั้งนี้ CMO ต้องไม่ลืมพัฒนาทักษะด้านการตลาดออนไลน์ ทั้งในรูปแบบของ In-house training และ Public training รับข่าวการตลาดใหม่ ๆ อัปเดตเทรนด์ที่เกิดขึ้น และก้าวให้ทันโลกเทคโนโลยีที่มีอะไรใหม่ ๆ ออกมาให้เราทดลองอยู่เสมอ

Related News

รู้จัก Churn Rate คืออะไร ทำไมถึงกลายเป็นฝันร้ายของคนทำธุรกิจ

Churn Rate คือตัวชี้วัดการสูญเสียลูกค้าที่ส่งผลโดยตรงต่อกำไรธุรกิจ เรียนรู้สาเหตุและ 5 เทคนิคลด Churn Rate ที่พิสูจน์แล้วว่าได้ผลจริงในบทความนี้

แชร์ 5 เครื่องมือใช้เช็กอันดับเว็บไซต์ SEO ที่เอเจนซี่ใช้จริง

รวม 5 เครื่องมือเช็กอันดับเว็บที่เอเจนซี่รับทำ SEO ใช้จริง พร้อมวิธีใช้งานทีละขั้นตอน ทั้ง Google Search Console, SERanking, Ahrefs และอื่น ๆ

สอนวิธีเช็กอันดับเว็บไซต์ เช็กอันดับ SEO ด้วยตัวเอง

รวมวิธีสอนเช็กอันดับเว็บง่าย ๆ ด้วยตัวเอง เช็กอันดับ SEO ยังไงได้บ้าง เลือกมาให้แค่วิธีที่ง่ายและฟรี มือใหม่ทำได้ ไม่ต้องจ้างเอเจนซี่ อัปเดต 2025

รู้จัก Churn Rate คืออะไร ทำไมถึงกลายเป็นฝันร้ายของคนทำธุรกิจ

Churn Rate คือตัวชี้วัดการสูญเสียลูกค้าที่ส่งผลโดยตรงต่อกำไรธุรกิจ เรียนรู้สาเหตุและ 5 เทคนิคลด Churn Rate ที่พิสูจน์แล้วว่าได้ผลจริงในบทความนี้

แชร์ 5 เครื่องมือใช้เช็กอันดับเว็บไซต์ SEO ที่เอเจนซี่ใช้จริง

รวม 5 เครื่องมือเช็กอันดับเว็บที่เอเจนซี่รับทำ SEO ใช้จริง พร้อมวิธีใช้งานทีละขั้นตอน ทั้ง Google Search Console, SERanking, Ahrefs และอื่น ๆ

สอนวิธีเช็กอันดับเว็บไซต์ เช็กอันดับ SEO ด้วยตัวเอง

รวมวิธีสอนเช็กอันดับเว็บง่าย ๆ ด้วยตัวเอง เช็กอันดับ SEO ยังไงได้บ้าง เลือกมาให้แค่วิธีที่ง่ายและฟรี มือใหม่ทำได้ ไม่ต้องจ้างเอเจนซี่ อัปเดต 2025

logo

ติดต่อเรา

ANGA Mastery คือแพลตฟอร์มแห่งการเรียนรู้ด้านการตลาดในยุคดิจิตอล ที่ไม่ใช่แค่ทฤษฎี แต่เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงของเอเจนซีชั้นนำที่เคยลงมือทำจริง เรียนรู้เทคนิคที่ใช้ได้ผลจริง และนำไปปรับใช้กับธุรกิจของคุณได้ทันที เหมาะสำหรับ ผู้บริหารองค์กร เช่น CEO, MD, VP, ผู้บริหารระดับสูง นักการตลาดระดับสูง เช่น Marketing Manager และ เจ้าของธุรกิจ