30 OCTOBER 24
38
โลกของการทำการตลาดออนไลน์ที่มีการแข่งขันกันอย่างดุเดือด การดึงดูดความสนใจของลูกค้าและกระตุ้นให้พวกเขาซื้อสินค้าหรือ “กระทำ” อะไรบางอย่างตามที่เราต้องการ ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะคุณต้องคิดค้นหาวิธีหรือวางองค์ประกอบบางอย่างให้โดดเด่นสะดุดตาจริง ๆ จึงจะสามารถดึงความสนใจของพวกเขาได้ และ Call To Action หรือ CTA คือเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการดึงดูดความสนใจและสามารถทำให้ลูกค้ากระทำสิ่งที่แบรนด์ต้องการได้ง่ายขึ้น วันนี้ ANGA Mastery จะพาคุณไปเรียนรู้ว่า Call To Action คืออะไร พร้อมแชร์เทคนิคการทำ Call To Action ให้ดึงดูดใจและน่าคลิก
CTA ย่อมาจาก Call To Action แปลว่าการเรียกร้องความสนใจและทำให้เกิดการกระทำ (อะไรบางอย่าง) ขึ้น โดยมักจะอยู่ในลักษณะของปุ่ม (Button) ที่มีข้อความประกอบ หรือข้อความที่วางไว้เด่น ๆ บนสื่อ โดยสามารถพบได้ทุกแพลตฟอร์มและทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์, รูปภาพแบนเนอร์, วิดีโอ หรือ Social Media ก็ตาม เช่น ปุ่มสีแดงบน Banner Ads ที่เขียนว่า “จองด่วน!” หรือ “ราคาพิเศษ เฉพาะวันนี้เท่านั้น!” เป็นต้น จะเห็นได้ว่าคำเหล่านี้จะทำให้ผู้อ่านรู้สึกถึงความเร่งรีบ ต้องกระทำสิ่งนั้นเดียวนั้น ถ้าไม่ทำจะต้องพลาดแน่ ๆ หรือเป็นถ้อยคำที่เอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้อ่าน ซึ่งส่วนใหญ่มักจะมาพร้อมพื้นหลังสีแดงหรือปุ่มเด่น ๆ ทำให้มองเห็นง่าย ๆ และอาจจะอยู่ในรูปแบบของ Hyperlink (ข้อความที่สามารถคลิกไปยังหน้าเว็บไซต์อื่น ๆ ได้) ก็ได้เช่นกัน
ตัวอย่าง Call To Action บนหน้าคอร์สเรียน SEO ของ ANGA Mastery จะมีทั้ง CTA หลักและ CTA รอง โดย CTA เด่น ๆ จะเป็นปุ่มขนาดใหญ่กว่าและมองเห็นได้อย่างชัดเจน คือ สำรองที่นั่ง, ดาวน์โหลด Syllabus และจัด training สำหรับองค์กร ส่วน CTA รองก็จะเป็นดูตัวอย่าง, แชท และโทรนั่นเอง
CTA คือสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยในการทำการตลาดออนไลน์ เพราะ CTA ช่วยให้เกิด Conversion ตามเป้าหมายที่ธุรกิจต้องการได้จริง และมี Conversion Rate ที่สูงกว่าโฆษณาหรือการทำการตลาดที่ไม่มี CTA เป็นส่วนประกอบ อีกนัยหนึ่ง CTA ก็เหมือนเป็นไกด์นำทางให้ผู้ชมหรือกลุ่มเป้าหมายรู้ตัวว่าควรทำอะไรต่อไป และสิ่งที่ทำนั้นส่งผลอย่างไร ไม่เพียงเท่านั้นการใช้ Call To Action ยังช่วยให้ยอดขายของธุรกิจเติบโตขึ้น, เร่งให้เกิดกระบวนการต่าง ๆ ตาม Sales Funnel และช่วยนำทางให้กลุ่มเป้าหมายดำเนินการตามที่เราต้องการ โดยไม่สับสนเส้นทางด้วย
ตัวอย่างเช่น A ต้องการทำจมูกที่คลินิก DDD มาก ๆ แต่มีงบประมาณที่จำกัด (40,000 บาท) ซึ่งราคาปกติในการทำจมูกของคลินิกนี้จะอยู่ที่ 59,990 บาท วันหนึ่ง A เห็นว่าคลินิก DDD มีโปรโมชั่นเสริมจมูกราคา 39,990 บาท แต่ก็เกิดอาการลังเลว่าจะทำดีไหม ไหนจะค่า After Care ต่าง ๆ อีก และมองไปเห็นปุ่ม CTA ที่เขียนว่า “จองวันนี้ ฟรี After Care !” ซึ่งประโยคนี้ได้ดึงความสนใจและกระตุ้นความต้องการของ A ได้ดีมาก เนื่องจากมันตอบโจทย์ ทั้งอยู่ในงบทั้งได้ทำ After Care ฟรี ส่งผลให้ A กล้าที่จะตัดสินใจจองทำจมูกอย่างรวดเร็ว ในช่วงเวลานั้นเลย เป็นต้น
Call to Action กลายเป็นหนึ่งในองค์ประกอบของการทำการตลาดออนไลน์ไปซะแล้ว โดยการสร้าง Call To Action ให้มีประสิทธิภาพ ไม่ได้มาจากการเขียนข้อความโดน ๆ และการออกแบบเด่น ๆ เท่านั้น ยังมาจากการเรียนรู้ พร้อมกับทำความเข้าใจว่ากลุ่มเป้าหมายมีพฤติกรรมอย่างไรและต้องการอะไรด้วย เพื่อที่จะได้มอบประสบการณ์ที่ดีให้แก่พวกเขาและพาลูกค้าไปตาม Customer Journey ได้อย่างราบรื่น ซึ่งเราก็ได้สรุปเทคนิคการเขียน CTA ให้ดึงดูดใจและน่าคลิกออกมาเป็น 8 ข้อนี้เลย
Call To Action คือคำหรือประโยคช่วยกระตุ้นการตัดสินใจ เพื่อให้ผู้ชมหรือกลุ่มเป้าหมายทำตามจุดประสงค์ที่ธุรกิจต้องการ โดยการใช้ทักษะการเขียน ทักษะการออกแบบ และการรู้จักกลุ่มเป้าหมายอย่างลึกซึ้งประกอบกัน เมื่อ Action แล้ว ก็จะเกิดเป็น Conversion ขึ้นมา ซึ่ง Conversion ที่ว่าก็อาจจะเป็นยอดขาย ยอดคลิก ยอดการสมัครสมาชิก ยอดลงทะเบียน ยอดดาวน์โหลด หรืออะไรก็ได้ที่คุณตั้งเป้าหมายเอาไว้ และสำหรับธุรกิจไหนที่ทำการตลาดผ่านเว็บไซต์ด้วยล่ะก็ CTA คือสิ่งที่สำคัญมาก ๆ เพราะ CTA จะช่วยให้ Conversion Rate สูงขึ้น และ Bounce Rate ลดลง ส่งผลทำให้ประสิทธิภาพของการทำ SEO ดีขึ้นด้วย เพราะ Google มองว่าเว็บไซต์ของคุณมีคุณภาพและตรงกับความต้องการของผู้ใช้นั่นเอง!
พัฒนาสกิลที่ถูกต้องสำหรับผู้นำ
ด้านการตลาดออนไลน์
24 NOVEMBER
ASEO (Adaptive Search Engine Optimization) การทำ SEO รูปแบบใหม่ ติดอันดับได้ง่ายและเร็วใน Google และ AI platforms
24 NOVEMBER
24 NOVEMBER
31 OCTOBER
30 OCTOBER
30 OCTOBER
ANGA Mastery คือแพลตฟอร์มแห่งการเรียนรู้ด้านการตลาดในยุคดิจิตอล ที่ไม่ใช่แค่ทฤษฎี แต่เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงของเอเจนซีชั้นนำที่เคยลงมือทำจริง เรียนรู้เทคนิคที่ใช้ได้ผลจริง และนำไปปรับใช้กับธุรกิจของคุณได้ทันที เหมาะสำหรับ ผู้บริหารองค์กร เช่น CEO, MD, VP, ผู้บริหารระดับสูง นักการตลาดระดับสูง เช่น Marketing Manager และ เจ้าของธุรกิจ